กล่าวนำ
คุณเคยเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แต่งกายชุดดำ พร้อมอุปกรณ์ครบมือทั้งปืนยาว ปืนพกสั้น สวมหมวก เสื้อเกราะ และที่จดจำกันได้มากที่สุดคือใส่ไอ้โม่งสีดำปกปิดใบหน้าอันหล่อเหลานั้น เขาเป็นใครมาจากไหน อยู่หน่วยไหนกันนะ และเขาแบกอุปกรณ์พวกนั้นไหวเหรอ ไม่ร้อนเหรอ ก็ขอบอกก่อนเลยแล้วกันนะครับว่า "หนักครับ ร้อนครับ" แต่มีความจำเป็นต้องใส่น่ะครับ เพราะว่าต้องเตรียมพร้อมเสมอครับ พวกผมเป็นหน่วยพิเศษครับ ฝึกหนักครับ และสุดท้ายนะครับ "ผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้" เอาล่ะครับเดี๋ยวเขาจะว่าพูดเล่นมากเกินไปจนเข้าใจไปว่า "ไอ้พวกนี้มันบ้า" น่ะครับ มาเข้าเรื่องจริง ๆ จัง ๆ ดีกว่านะครับ
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันสภาพปัญหาอาชญากรรมในประเทศไทยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นมีความสลับซับซ้อนทั้งอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญประชาชน คนร้ายหรือผู้ถูกจับในคดีต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ตำรวจในขณะเข้าทำการจับกุม ซึ่งจากข่าวสารทางสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ได้ลงประกาศข่าวคนร้ายต่อสู้ขัดขวางยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจจนเสียชีวิตไปหลายนาย รวมทั้งการก่ออาชญากรรมของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มสูงขึ้นตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศเข้าถึงกลุ่มเยาวชนในโรงเรียนมากขึ้น ปัญหาการก่อการร้ายของโจรก่อการร้ายทั้งภายในประเทศ การก่อการร้ายข้ามชาติและการก่อการร้ายสากล รวมทั้งมีการจับตัวประกันจากผู้ติดยาเสพติดและวิกลจริตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภัยดังกล่าวได้สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนและเป็นอันตรายต่อสังคม
สำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้พิจารณาจัดเจ้าหน้าที่ที่มีลักษณะเป็นหน่วยกำลังและมีการปฏิบัติที่มีระเบียบวินัยอย่างเช่นหน่วยของทหาร หรือกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อมาทำการฝึกทางด้านยุทธวิธีตำรวจพิเศษ เพื่อเป็นการรองรับตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ิจึงได้พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนของตำรวจภูธรภาค และ ตำรวจภูธรจังหวัด ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ นปพ. จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ กำลัง 5 นาย มีสัญญาบัตร 1 นาย ชั้นประทวน 4 นาย เข้าทำการฝึกหลักสูตรพัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเจ้าหน้าที่ดังกล่าวออกไปปฏิบัติงานรองรับแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 45) เมื่อแรกเริ่มการฝึก (ปัจจุบันเป็นแผนกรกฎ 48) เข้าแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้าย การก่อการร้ายสากล การช่วยเหลือตัวประกัน การจู่โจมล้อมจับคนร้ายคดีสำคัญ คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญและที่มีอาวุธพร้อมต่อขัดขวางการจับกุม และขยายผลการฝึกให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ นปพ.ภายในหน่วย รวมทั้งการฝึกยุทธวิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำโรงพักต่าง ๆ
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ นปพ. ได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมหลักสูตรต่าง ๆ ทางด้านยุทธวิธีตำรวจจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ อรินทราช 26 สังกัดกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และหลักสูตรอื่น ๆ อยู่เสมอ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกำลังพลที่ต้องออกไปปฏิบัติงานจริง
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติด้วย
TOP กลับด้านบน
ประวัิติก่อกำเนิดชุด SWAT โดยสังเขป


|
จุดกำเนิดของหน่วย SWAT
SWAT Team
Special Weapons and Tactics

หน่วย SWAT นั้นเป็นชื่อย่อของหน่วยที่เรียกว่า The Special Weapons And Tactics Unit หรือพอจะแปลเป็นไทยได้ว่า “หน่วยอาวุธและกลยุทธ์พิเศษ” ความคิดริเริ่มในการก่อตั้งหน่วยดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ในยุคทศวรรษ 1960 หลังเกิดเหตุลอบยิงประชาชนและตำรวจขึ้นทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา
โดยเฉพาะที่นครลอสแองเจลิสในช่วงระหว่างและหลังจากที่เกิดการจลาจลในเขตวัตต์ส (Watts Riot) ของนครลอสแองเจลิส เมื่อปี 1965
การลอบยิงดังกล่าวทำให้เกิดคำถามและการตรวจสอบขึ้นว่า ตำรวจสามารถรับมือกับเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ได้มากเพียงใด ซึ่งผู้บัญชาการกรมตำรวจนครลอสแองเจลิสในขณะนั้นตระหนักดีว่า ควรต้องเร่งหาวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่ จอห์น เนลสัน ได้เสนอความคิดเรื่องการก่อตั้งหน่วยพิเศษนี้ให้กับ สารวัตร ดาร์ริล เอฟ เกตส์ (ภายหลังได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครลอสแองเจลิส) ซึ่งเกตส์เห็นด้วยและอนุมัติให้จัดตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาหน่วยหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยนี้จะต้องรักษากฎระเบียบอย่างเคร่งครัด และใช้อาวุธและกลยุทธ์พิเศษในการรับมือกับการต่อสู้ที่ไม่ธรรมดาและยากแก่การรับมือ |
ในช่วงเริ่มต้น หน่วย SWAT ประกอบไปด้วยทีม 15 ทีม ซึ่งแต่ละทีมจะมี 4 คน ซึ่งผู้ที่เข้ามาในหน่วยนี้ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลากหลายยศที่อาสาสมัครเข้ามา โดยแต่ละคนจะมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญพิเศษ และเคยผ่านการเป็นทหารมาก่อน
เจ้าหน้าที่ในหน่วย SWAT จะได้รับการฝึกเป็นประจำทุกเดือน หรือเมื่อเกิดความจำเป็นที่จะต้องใช้อาวุธพิเศษ โดยภารกิจแรกเริ่มคือการรักษาความปลอดภัยให้กับอาคารของตำรวจ ระหว่างที่ประชาชนก่อการจลาจล
ภาพส่วนหนึ่งของการฝึก จาก http://www.lodinews.com/photos/swat/SWAT-02.shtml
จากนั้นในปี 1971 จึงได้มีการจัดเจ้าหน้าที่เข้ามาอยู่ในหน่วย SWAT โดยเฉพาะ โดยให้ขึ้นอยู่กับตำรวจนครบาล เพื่อให้คอยสนองตอบต่อการกระทำของกลุ่มที่คอยบ่อนทำลายความมั่นคง การเพิ่มขึ้นของอัตราการการเกิดอาชญากรรม และปัญหาเรื่องของเวลาในการที่จะรวมทีมกัน
ฝ่ายตำรวจนครบาลนั้นมีชื่อเสียงมานานแล้ว จากการเป็นฝ่ายที่คอยวางกลยุทธ์ต่างๆ ให้กับกรมตำรวจซึ่งโครงสร้างในตำรวจนครบาลนั้นแบ่งหมวดหมู่เป็นหมวด A, B, และ C อยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ หน่วย SWAT จึงถูกจัดให้อยู่ในหมวด D อย่างไรก็ตาม หน่วยอาวุธและกลยุทธ์พิเศษนี้ กลับเป็นที่รู้จักกันดีจากชื่อย่อของหน่วยที่เรียกว่า SWAT
- ปฏิบัติการจริงของหน่วยSWAT
การฝึกของหน่วย SWAT
ภาพจาก www.gocolumbiamo.com/Police/Department/SWAT/startrain.php
ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์ 18 เมษายน 2548
www.fairfieldtwp.org/,http://lcso.leonfl.org/swat.htm
TOP กลับด้านบน
|
ประวัติชุด SWAT ของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
        

ในอดีตหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (หรือ นปพ.) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2511 โดยการสนับสนุนจากกรมวิเทศกิจสหรัฐ หรือ ยูซ่อม (USOM : United State Operation Mission) เพื่อจัดหาบุคลากรที่มีศักยภาพในการรบแบบจรยุทธ์และการแทรกซึมหาข่าว การมวลชนในท้องถิ่นทุรกันดาร เกี่ยวกับการต่อต้านภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ตำรวจภูธรไม่สามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้เนื่องจากมีกำลังพลจำกัด ซึ่งก็ได้ถูกส่งไปฝึกตามหน่วยรบพิเศษจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เช่นค่ายดารารัศมี จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นจึงถูกส่งไปประจำพื้นที่รับผิดชอบ ที่มีความเข้มข้นของสถานการณ์ ซึ่ง นปพ.เหล่านี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเรื่อยมาในฐานะที่เป็นหน่วยกำลังและการปฏิบัติทางยุทธวิธีแบบจรยุทธ์ และได้ปรับเปลี่ยนภารกิจตามโครงสร้างที่ ตร.กำหนดเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2546 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ขออนุมัติโครงการจากรัฐบาลในการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม การช่วยเหลือตัวประกัน การแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤตต่าง ๆ เพื่อรองรับตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 45 ปัจจุบันเป็นแผน กรกฎ 48) ตามหลักสูตร “พัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการพิเศษ” หรือ SWAT โดยวิทยากรจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้รับผิดชอบการฝึก โดยหลักสูตรการฝึกได้ปรับมาจากหลักสูตรต่อต้านการก่อการร้ายสากลจากหลักสูตรปกติ 6 เดือน มาเหลือ 1 เดือน โดยที่ยังคงประสิทธิภาพและเพิ่มพูนศักยภาพของหน่วยและภารกิจได้ ต่อมาใน ปี พ.ศ.2547 หน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 ฯ ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรฝึกหลักสูตร “แผนเผชิญเหตุ” เพื่อให้หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ฯ มีขีดศักยภาพรองรับแผนรักษาความสงบ “กรกฎ 45” สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยปรากฏตามแผนคือชุด “ยุทธวิธีตำรวจพิเศษ” และ “ชุดพิเศษเฉพาะกิจ” ในการแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤติในการช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ฯ ในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนซึ่งไม่สามารถรอชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 หรือจากอรินทราช 26 ได้ และเป็นการปฏิบัติการทางยุทธวิธีตำรวจในเมืองในระยะประชิด (Close Quarter Battle หรือ CQB) การเข้าปิดล้อม ตรวจค้นอาคาร ยานพาหนะ การจับกุมอาชญากรร้ายแรงหรือสถานการณ์ฉุกเฉินตามกรอบของกฎหมาย(Law Enforcement) ในขณะที่ตำรวจตระเวนชายแดนส่วนใหญ่จะรับผิดชอบเฉพาะแนวตะเข็บชายแดน รวมทั้งไม่สามารถใช้กำลังทางทหารได้ (ทหารจะปฏิบัติการในพื้นที่ใดต้องมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ซึ่งจะอยู่ในสถานการณ์ที่มีการรบหรือในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น กฎหมายถึงจะรองรับ) โดยรวมแล้วเรียกว่าหน่วย SWAT ซึ่งเป็นหน่วยที่มีการปฏิบัติการทางด้านยุทธวิธีตำรวจพิเศษ เพื่อพิทักษ์รับใช้ประเทศชาติและประชาชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือให้ขยายผลการฝึกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดแต่ละตำรวจภูธรจังหวัดต่าง ๆ ด้วย
ในปี พ.ศ.2549 ตามหลักการและเหตุผลดังกล่าว พ.ต.ท.นิพนธ์ พานิชเจริญ รองผู้กำกับการ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ (ปัจจุบันยศ พ.ต.อ. ตำแหน่งผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษฯ) และ พ.ต.ต.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ สวป.สภ.คลองเขื่อน (ปัจจุบันยศ พ.ต.ท. ตำแหน่งรองผู้กำกับการ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษฯ) ได้เสนอแนวคิดในการจัดตั้งชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ (SWAT) ตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) และการปฏิบัติการทางยุทธวิธี ต่อ พล.ต.ต.ระพีพัฒน์ ปาละวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ต่อมาท่านได้เลื่อนยศเป็น พลตำรวจโท ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ก่อนที่ไปดำรงตำแหน่งจเรตำรวจ (สบ 8) ในปัจจุบัน) และได้รับความเห็นชอบสนับสนุนให้ดำเนินการ ต่อมา พ.ต.ท.นิพนธ์ ฯ ได้เสนอหลักการและเหตุผลในการจัดชุด SWAT ต่อที่ประชุมของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษและศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 โดยได้สำรวจความสมัครใจเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ ที่เคยผ่านการฝึกหลักสูตรพัฒนาศักยภาพหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 จำนวน 15 นาย ให้ทำการสาธิตการจู่โจมช่วยตัวประกันบนรถบัส ให้ผู้บังคับบัญชาดู จนได้มีคำสั่งให้รวบรวมตำราและจัดทำตารางการฝึกทบทวนให้กับชุด แต่ยังไม่ชัดเจน ต่อมา พล.ต.ต.ระพีพัฒน์ ฯ ได้ให้ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 จัดเจ้าหน้าที่ชุดทำการฝึกอบรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำทางทะเล (Rescue) โดยปฏิบัติงานร่วมกับเฮลิคอปเตอร์จาก บ.ตร.สำหรับการสนับสนุนการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและประชาชนในเขตเมืองพัทยา โดยได้ให้กองกำกับการตำรวจน้ำสัตหีบทำการฝึกให้ โดยฝึกเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยจากน้ำเบื้องต้น การเข้าช่วยเหลือคนตกน้ำ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำโดยปฏิบัติร่วมกัน ฮ. ต่อมาได้รับคำสั่งให้ร่วมรักษาความปลอดภัยในงานประกวดนางสาวไทยประจำปี พ.ศ.2549 ที่พัทยา และได้สาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในงานประกวด โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลเมืองพัทยา และได้จัดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานของชุด SWAT บางส่วนมาหลังจากนั้นได้กลับมาฝึกทบทวนกันเองในหน่วยแต่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าใดนัก และกำลังจาก 15 นาย ค่อยๆน้อยลงจนเหลืออยู่ 10 นาย เนื่องจากต้องไปช่วยปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายด้วย
ต่อมาในวาระแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรประจำปี พ.ศ.2549 ร.ต.อ.สุริยะ โพธิ์ทองนาค รองสารวัตรทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กลุ่มงานสืบสวน ภ.จว.ฉะเชิงเทรา ได้รับคำสั่งให้มาดำรงตำแหน่ง รองสารวัตร กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศสส.ภ.2 (ปัจจุบันยศ พ.ต.ต. ตำแหน่งสารวัตรกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศสส.ภ.2 โดยได้รับมอบหมายจาก พ.ต.อ.ธัญญสิทธิ์ อมรสุคนธ์ ผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษฯ (ปัจจุบันคือ พ.ต.อ.ฐิติพันธ์ อมรสุคนธ์ ตำแหน่งรองผู้บังคับการ ภ.จว.สิงห์บุรี) ให้ทำหน้าที่หัวหน้าชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ (SWAT) ได้เริ่มจัดทำตารางการฝึก โครงการฝึกให้เป็นระบบมากขึ้น โดยได้เสนอโครงการฝึกชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ (SWAT) ภ.2 จำนวน 11 นาย เสนอผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดย พ.ต.อ.ฐณพล มณีภาค รองผู้บังการ หัวหน้าศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 (ปัจจุบันยศ พล.ต.ต. ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 2) ได้ให้ความเห็นชอบและเสนอขออมุมัติโครงการต่อ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (มก.5) ให้ทำการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ชุด SWAT ประจำศูนย์สืบสวนสอบสวน ฯ ในห้วงระหว่างวันที่ 19 ก.พ.50 ถึงวันที่ 16 มี.ค.50 โดยขอรับการสนับสนุนวิทยาการจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 โดยมี พ.ต.ท.ชาตรี มีรสสม ผบ.ร้อย หน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 ฯ เป็นหัวหน้าชุด , ด.ต.พิทยาศักดิ์ ผดาเวช (ครูตั๊บ) , ด.ต.สำราญ หนูแก้ว (ครูราญ) ทำการฝึกให้จนจบหลักสูตร หลังจากการฝึกอบรมหลักสูตรชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษจบแล้ว กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศสส.ภ.2 ได้มีคำสั่งให้จัดชุดปฏิบัติการเป็นจำนวน 2 ชุด ชุดละ 5 นาย มี ร.ต.อ.สุริยะ ฯ เป็นหัวหน้าชุด มีหน้าที่สนับสนุนกำลังและปฏิบัติทางด้านยุทธวิธีในการจู่โจมล้อมจับ ตรวจค้นบ้านต้องสงสัย ฯ รวมทั้งทำหน้าที่ครูฝึกขยายผลการฝึกยุทธวิธีให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัดศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 และหน่วยงานอื่นที่ร้องขอ
โดยใช้ชื่อชุดอย่างไม่เป็นทางการว่า หน่วยปฏิบัติการพิเศษ บูรพา 491
ปัจจุบันชุด SWAT กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ มีกำลังพลจำนวน 15 นาย แบ่งเป็น 3 ชุดปฏิบัติการ ชุดละ 5 นาย มีหน้าที่จัดเวรเตรียมพร้อมสนับสนุนสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน และจัดเวรเตรียมพร้อมประจำรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ ในการถวายความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาททุกพระองค์ ที่เสด็จในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 (8 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีน นครนายก สระแก้ว ) ตามคำสั่งจาก ตร. และ ภ.2 และในภาวะปกติให้ทำการฝึกทบทวนยุทธวิธีแก่กำลังพลของศูนย์สืบสวน ฯ และชุด SWAT สัปดาห์ละ 1วันรวมทั้งการทดสอบร่างกายด้วย
TOP กลับด้านบน
หัวข้อการฝึกยุทธวิธี
- การยิงปืนระบบต่อสู้ฉับพลันปืนพกสั้นและปืนยาว และปืนลูกซอง
- การยิงปืนระบบพลซุ่มยิง (Sniper)
- ยุทธวิธีการเอาตัวรอดของเจ้าหน้าที่ ระบบคู่บั้ดดี้ ( Officer survival tactics : O.S.T.)
- การปิดล้อมตรวจค้นอาคาร ยานพาหนะ
- การต่อสู้ในระยะประชิด (CQB : Close Quarter Battle)
- การตรวจพื้นที่ การวางแผนเข้าปฏิบัติการ (ทั้ง 4 แผน)
- การตรวจค้นบุคคล ยานพาหนะ
- การจับกุม ควบคุมและใช้เครื่องพันธนาการ
- การเข้าสู่หมาย
- เดินเท้าเข้าสู่ที่หมาย
- การใช้รถยนต์เข้าสู่ที่หมาย
- การโรยตัว
- การใช้เชือกรูดเร็ว (Fast Rope) (อุปกรณ์ไม่มี)
- ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
- การซ้อมปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ
- การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
 
 
ระเบียบปฏิบัติประจำ
- ทุกวันจันทร์
- เวลา 08.30 น. – 09.00 น. - ตรวจจำนวน อุปกรณ์ อาวุธ ยานพาหนะ
- เวลา 09.00 น. – 10.00 น. - ฝึกทบทวนยุทธวิธีตำรวจให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจศูนย์สืบสวนสอบสวน
- เวลา 10.00 น. – 12.00 น. - ฝึกทบทวนชุด SWAT หรือ รถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ
- จัดชุดเตรียมพร้อมวันละ 5 นาย
- ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 08.00 น.
- ทุกวันพุธสุดท้ายของเดือน – ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- อื่น ๆ เช่น
- ทำการฝึกให้หน่วยงานข้างเคียง
- การออกตรวจ
- การรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ เช่น ผู้ต้องหาสำคัญ
- การฝึกเพิ่มเติมจากวิทยากรจากที่ต่าง ๆ เช่นการประดาน้ำ
TOP กลับด้านบน
ภารกิจหน้าที่
- สนับสนุนกำลังและยุทธวิธีเกี่ยวกับช่วยเหลือตัวประกัน การต่อต้านการก่อการร้าย(เบื้องต้นหรือขณะที่หน่วยหลักยังมาไม่ถึงและเป็นเหตุเร่งด่วน) การก่อความไม่สงบ
- สนับสนุนกำลังให้กับเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนในการจู่โจมล้อมจับคนร้ายคดีสำคัญ คนร้ายที่มีอาวุธและมีพฤติการณ์ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม เมื่อได้รับการร้องขอ เช่น
- คดีฆ่า ปล้น ชิงทรัพย์ โดยมีอาวุธร้ายแรง
- คดีค้าอาวุธสงคราม ทั้งอาวุธปืน วัตถุระเบิด
- คดีเรียกค่าไถ่
- คดียาเสพติด
- ฯลฯ
- เตรียมพร้อม ฝึกทบทวน ออกปฏิบัติ ประเมินผลการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไข
- ปฏิบัติตามคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
SWAT duties
SWAT duties include:
- Hostage rescue.
- Crime suppression.
- Perimeter security against snipers for visiting dignitaries.
- Providing superior assault firepower in certain situations, e.g. barricaded suspects.
- Rescuing officers and citizens captured or endangered by gunfire.
- Countering terrorist operations in U.S. cities.
- Resolve high-risk situations with a minimum loss of life, injury or property damage.
- Resolve situations involving barricaded subjects, (specifically covered by a Hostage Barricade Team).
- Stabilize situations involving high-risk suicidal subjects.
- Provide assistance on drug raids, arrest warrant and search warrant service.
- Provide additional security at special events.
- Stabilizing dangerous situations dealing with violent criminals (such as rapists, serial killers or gangs).
TOP กลับด้านบน
อุปกรณ์
ตามหลักสากลแล้ว ชุด SWAT จะต้องมีอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานดังนี้
- ปืนยาว ปืนกลมือ ขนาด 9 มม.
- ปืนซุ่มยิงระยะกลาง
- ปืนซุ่มยิงระยะไกล
- ปืนพกสั้นออโตเมติกขนาด 9 มม. หรือ 11 มม.
- ปืนลูกซอง
- สเปรย์พริกไทย
- แก๊สน้ำตา
- กระสุนยาง
- เครื่องช๊อตไฟฟ้า
- เสื้อเกราะกันกระสุน
- วิทยุรับส่ง
- ไฟฉาย
- กุญแจมือหรือเครื่องพันธนาการ
- ยานพาหนะ
- ฯลฯ
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ชุด SWAT (ขอย้ำทุกอย่างต้องสุด ๆ ทีมถึงจะดีที่สุด)
- การมีสติ ไหวพริบ ปฏิภาณ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การตัดสินใจที่ดีที่สุด
- มียุทธวิธี และความเชี่ยวชาญช๊ำชอง
- มีวินัย
- มีจิตใจที่เข้มแข็ง (ในภาวะที่กดดัน มีอันตรายและความเสี่ยงสูง ทั้งเสียงปืน ระเบิด เสียงกรีดร้อง ต้องปฏิบัติงานได้อย่างไม่ติดขัด)
- มีการปฏิบัติงานเป็นระบบ มีการวางแผนอย่างรัดกุมรอบคอบ เข้าใจง่าย มอบหมายหน้าที่และจัดคนและขั้นการปฏิบัติอย่างดี
- พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
- มีทีมเวอร์ค และสายการบังคับบัญชา
- มีสภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
- ไม่ติดเหล้า เล่นการพนัน
- ไม่มีปัญหาครอบครัว
- ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว




|