







กล่าวนำ
งานรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ หรือ รถ C.A.T. : Counter Attack Team นั้นเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งในการถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะที่ทรงเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 2 ซึ่งภารกิจตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 กำหนดให้กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 “ดำเนินการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจท้องที่ในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลและต่างประเทศและสถานที่สำคัญของทางราชการ” จะเห็นได้ว่าภารกิจดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง โดยต้องพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความพร้อม มีระเบียบวินัย มีความเชี่ยวชาญและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่อเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และต้องมีการฝึกทบทวนยุทธวิธีทั้งหมดและตรวจสอบความพร้อมของบุคคล อุปกรณ์ ยานพาหนะ เพื่อให้การถวายความปลอดภัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น







หน้าที่ของรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ ถวายความปลอดภัยในขบวนเสด็จ
- เฝ้าระวัง 360 องศา ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง
- ระวังการลอบโจมตี
- ระวังการแทรกและแซงขบวน
- รายงานความเรียบร้อยท้ายขบวน
คุณสมบัติพื้นฐานของรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษ
- เป็นรถยนต์ที่ประสิทธิภาพสูงทั้งกำลังเครื่องยนต์และตัวถังรถ
- จำนวนที่นั่ง 4-8 ที่นั่ง (ตามชุดปฏิบัติการ)
- ติดตั้งสัญญาณไฟแดงและวิทยุสื่อสาร (ควรจะมี 2 เครื่องเป็นอย่างน้อย)
- มีอุปกรณ์ในการกู้ภัยเบื้องต้นและอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ
- กำลังพลที่พร้อมในการปฏิบัติงานทั้งกายและใจ รวมทั้งอาวุธที่มีประสิทธิภาพ






TOP กลับด้านบน
ระเบียบกรมราชองครักษ์ พ.ศ.2546
- ข้อ 9 การจัดขบวนรถยนต์ถวายความปลอดภัย ตามข้อ 4 ถึงข้อ 7 หรือกรณีอื่นสมุหราชองครักษ์หรือผู้แทนอาจสั่งการอย่างอื่นตามเหตุผลและความจำเป็น เป็นครั้งคราว
- ข้อ 10 การจัดข่ายวิทยุและการออกคำแนะนำการปฏิบัติการสื่อสารให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยแยกรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ประจำกรมราชองครักษ์
- ข้อ 11 การนำรถยนต์เข้าหรือออกนอกขบวน เมื่อได้รับอนุญาตจากสมุหราชองครักษ์หรือผู้แทน ให้หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำหรือผู้แทนเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานการปฏิบัติและแจ้งผลการปฏิบัติผ่านศูนย์วิทยุสื่อสาร ตามข้อ 10
- ข้อ 12 การประสานงานทางวิทยุ รถยนต์ในขบวนเดียวกันต้องใช้ความถี่วิทยุช่องเดียวกันเพื่อกระชับและรวดเร็วในการติดต่อประสานงานตลอดจนการสั่งการ
- ข้อ 13 กรณีฝนตก ถนนลื่น ให้งดใช้รถจักรยานยนต์
- ข้อ 14 เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในขบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติประจำกรมราชองครักษ์ ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับขบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์
แนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Security Post Guidelines)
หลักสากลในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญ และนำไปประยุกต์ใช้ในภารกิจอื่นได้ดี ดังนี้
- ใครคือบุคคลสำคัญที่ท่านจะต้องให้การอารักขา
- สถานที่ใดที่บุคคลสำคัญจะเดินทางไป
- เวลาอะไรที่เดินทางจากไป
- บริเวณที่ท่านได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ อยู่ที่ไหน
- ใครคือผู้บังคับบัญชาของท่าน
- เวลาอะไรที่ท่านต้องเข้ารับหน้าที่
- เวลาอะไรที่ท่านได้รับอนุญาตให้ออกจากหน้าที่
- บัตรแสดงตัวชนิดใดที่จะนำมาใช้
- จะเลือกใช้ยานพาหนะชนิดใด
- เครื่องมือสื่อสารชนิดใดที่พอจะหามาใช้ได้
- การจัดเตรียมสิ่งบรรเทาทุกข์ในเรื่องห้องน้ำ น้ำดื่มและอาหาร
- การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย
- อย่ารับประทานอาหารหรือดื่ม ฯลฯ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
- อย่าเปิดเผยอาวุธให้ผู้อื่นเห็น
- จงยืนขึ้นถ้าบริเวณที่ท่านรักษาการณ์อยู่นั้นมีผู้อื่นอยู่ด้วย หรือมีคนเดืนเข้ามาในบริเวณที่ท่านรักษาการณ์
- อย่าละทิ้งหน้าที่จากบริเวณที่ได้รับมอบหมาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
- ดูแลรักษาบริเวณที่รับผิดชอบไม่ให้มีสิ่งสกปรกรกรุงรัง
- รู้จักการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสาร
- รู้จักใช้อาวุธชนิดต่าง ๆ
- รู้จักใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือฉุกเฉิน
- สามารถบอกได้ว่าใครบ้างเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และ/หรือรู้จักเครื่องหมายบอกฝ่าย
- รู้ว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับบริเวณที่ท่านรับผิดชอบอยู่ที่ไหน
- เข้าใจรหัสรับที่ใช้ทางวิทยุ
- รู้ถึงภารกิจที่ได้เตรียมไว้ต่อเนื่องกับบริเวณที่ท่านรับผิดชอบ
- ถ้ามีการเปลี่ยนเวรยาม จะต้องอธิบายสรุปเหตุการณ์ในหน้าที่รับผิดชอบโดยละเอียดให้เจ้าหน้าที่ที่มาสับเปลี่ยนหน้าที่ได้ทราบ
TOP กลับด้านบน
การฝึก
แนวทางการฝึกของเจ้าหน้าที่ประจำรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษนั้นที่สำคัญและต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ได้แก่
1. การฝึกเทคนิคการขับรถทางยุทธวิธี
- การจับพวงมาลัยรถ
- การหมุนพวงมาลัยรถ ( Push and Pull )
- การขับรถ Slalom ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง
- การถอยหลังรูปตัว S
- การเบรกฉุกเฉิน
- การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง Y L
- การเข้าโค้งด้วยความเร็ว
- การบังคับรถเมื่อถนนลื่น
- การกลับรถแบบฉุกเฉิน U – turn และ J - turn
- การชนรถหรือสิ่งกีดขวางเพื่อให้เปิดทางแก่ขบวนรถ
- การไล่ติดตาม
- การป้องกันรถแทรกขบวน
- สถานีรวม



2. การใช้อาวุธ
- ทบทวนการฝึกตามตารางของชุด SWAT
3. ยุทธวิธีการรักษาความปลอดภัยบุคคลขบวนรถยนต์
- ขบวนรถถูกซุ่มโจมตีทางซ้าย ขบวนรถสามารถเคลื่อนที่ไปได้
- ขบวนรถถูกซุ่มโจมตีทางขวา ขบวนรถสามารถเคลื่อนที่ไปได้
- ขบวนรถถูกซุ่มโจมตีทางซ้าย รถ VIP , รถ รปภ.ประจำตัวไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้
- ขบวนรถถูกซุ่มโจมตีทางขวา รถ VIP , รถ รปภ.ประจำตัวไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้
- ฯลฯ
TOP กลับด้านบน
อาวุธและอุปกรณ์ประจำรถอาวุธ
ตามหลักสากล รถอาวุธและอุปกรณ์ควรมีอาวุธและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการตอบโต้แก้ไขเหตุต่าง ๆ ดังนี้
- อาวุธปืนกลมือที่ใช้กระสุนขนาด 5.56 (พื้นที่ป่า) หรือ 9 มม.(ในเมือง) พานท้ายยืดหดเพื่อความคล่องตัวขณะอยู่ในรถยนต์
- อาวุธปืนพกสั้นออโตเมติกขนาด 9 มม. หรือ 11 มม.
- เสื้อเกราะ
- หมวกกันกระสุน
- แว่นตากันสะเก็ด
- ถุงมือกันความร้อนที่มีขนาดกระชับ
- สนับศอก สนับเข่า
- วิทยุสื่อสารพร้อมหูฟัง ขนาด 5 – 7 วัตต์
- กล้องส่องทางไกล
- เครื่องยิงลูกระเบิด M79
- กระสุนแก๊สน้ำตา
- กระสุนยาง
- ชะแลงงัดประตู
- โล่กันกระสุน
- ไฟฉายแรงสูง
- กล้องมองกลางคืน(ติดกับหมวกกันกระสุนได้
- อุปกรณ์โรยตัวพร้อมเชือกโรยตัว (สนับสนุนการช่วยเหลือทางอากาศ)
- ฯลฯ
ยานพาหนะ
- ควรเป็นยานพาหนะที่มีกำลังสูง พร้อมระบบ 4W (พื้นที่ป่า)
- บรรทุกผู้โดยสารได้ 4-7 คน
- มีประตู 5 ประตู
- มีไซเรน
- มีวิทยุสื่อสารแรงสูงประจำรถ
- มีระบบนำร่อง GPS
- มีกล้อง CCTV บันทึกภาพเคลื่อนไหวทั้ง 4 ทิศทาง (หน้า หลัง ซ้าย ขวา)
- ระบบรถไม่ซับซ้อนมาก
- บำรุงดูแลรักษาง่าย
- กระจกทึบ (สำหรับการซ่อนพรางและการมองเห็นจากฝ่ายตรงข้าม)
TOP กลับด้านบน