การควบคุมฝูงชน
R i o t C o n t r o l






กล่าวนำ
สภาพปัญหาภายในประเทศไทยทุกวันนี้มีความขัดแย้งทางด้านความคิด ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมวิธีคิดในทางการเมือง หรือเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน ของกลุ่ม ของพวกพ้อง หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนส่วนใหญ่ ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบไปทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรม ภาคกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ ราคาสินค้าภาคการเกษตรตกต่ำ จนหน่วยงานภาครัฐและรัฐบาลตั้งตัวแทบไม่ติด และขณะนี้ประเทศไทยประสบปัญหาทางการพัฒนาประเทศที่ควรจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องแต่กลับมาเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าจะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนทั่วทั้งประเทศ จนเกิดการรวมตัวกันเพื่อให้หน่วยงานหรือรัฐบาลหันมาให้ความสนใจในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของประชาชน โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิในการชุมนุมประท้วงได้โดยสงบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็มีกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดำเนินการทั้งในด้านความปลอดภัยของบุคคล สถานที่ราชการ การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การจราจร การสุขาภิบาล ฯ แต่อย่างไรก็ตามหากกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้ก่อให้เกิดความรุนแรง มีการทำร้ายบุคคล ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น จนเกิดการจลาจลและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการตามกฎหมายเข้ามาแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤตโดยต้องใช้ความระมัดระวัง อดทน และปฏิบัติตามขั้นต่าง ๆ ในการควบคุมฝูงชนให้กลับสู่ในภาวะปกติโดยเร็ว และหากดำเนินการตามขั้นตอนแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบและมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงขึ้นอย่างเป็นวงกว้าง อาจใช้กำลังในการเข้าสลายการชุมนุมเพื่อยึดพื้นที่คืนและให้การชุมนุมนั้นยุติลงแต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย










หลักการและแนวทางในการแก้ปัญหาการชุมนุมประท้วงโดยสังเขป
การปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนในการชุมนุมประท้วง นโยบายหลักของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐคือการรักษาความสงบในการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และกำหนดแผนขั้นตอนในการปฏิบัติรองรับเมื่อเหตุการณ์ลุกลามจนกลายเป็นการจลาจล โดยให้เป็นในทิศทางเดียวกันรวมทั้งต้องมีการซักซ้อมความเข้าใจให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยยึดถือหลักดังนี้
1. หลักเมตตาธรรม โดยให้คำนึงไว้เสมอว่าในการชุมนุมประท้วงของประชาชนที่มารวมตัวกันนั้นมีความเดือดร้อนจริง ๆ ซึ่งต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีความเดือดร้อนและมีความทุกข์ตามข้อเรียกร้องจริงหรือไม่ ถ้ามีจริงก็ต้องให้การช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่
2. การดำเนินการตั้งแต่มีการชุมนุมโดยสงบไปจนกระทั่งเกิดการจลาจลนั้น ให้ใช้มาตรการการควบคุมฝูงชนจากเบาไปหาหนัก และมีการประกาศขั้นตอนในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนให้ทราบก่อนทุกครั้ง
3. การใช้หลักกฎหมาย หากผู้ชุมนุมเรียกร้องใช้วิธีการรุนแรง โดยกระทำผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น ให้ข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบใช้วิธีการเจราจาก่อน โดยเสนอแนะให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือยังคงมีการกระทำที่ก้าวร้าว รุนแรงก็ให้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยให้ดำเนินการในระดับถ้อยทีถ้อยอาศัย และต้องมองว่าทุกคนเป็นผู้ร่วมชาติ
4. หากมีความจำเป็นต้องใช้กำลังสลายการชุมนุม หลังจากนั้นแล้วก็เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ส่งตัวผู้บาดเจ็บ หรือดำเนินการต่าง ๆ ให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคคล สถานที่ที่เกิดเหตุ และควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ










TOP กลับด้านบน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมฝูงชนหรือการชุมประท้วง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
มาตรา 64 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ตามจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสองจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติกฎหมาย เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
- ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
- ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
- แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรือาวุธตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏหรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฏ หรือรู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฏแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 115 ผู้ใดยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ ให้ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ หรือให้ก่อการกำเริบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏต่อประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชม โดยสุจริต
- เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย
- เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
- เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เจ็ดปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 117 ผู้ใดยุยง หรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงาน งดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขาย หรือติดต่อทางธุรกิจ กับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อบังคับรัฐบาล หรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และเข้ามีส่วน หรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงาน งดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยออมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือทำให้หวาดกลัวประการใด ๆ เพื่อให้บุคคลเข้ามีส่วนเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงาน งดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจ บุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับเกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
และในการปลุกระดมนั้นผู้พูดปลุกระดมนั้นอาจมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ถูกกระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด แผ่นเสียงหรือบันทึกเสียงอย่างอื่น กระทำโดยการกระจายเสียงหรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 384 ผู้ใดแกล้งเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในส่วนของผู้เข้าร่วมชุมนุมอาจมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 117 วรรค 2
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรค 1 และวรรค 2
การชุมนั้นอาจเกิดกรณีใช้ผิวการจราจร สถานที่ราชการ หรือทางสาธารณะก็อาจมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385 ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำการด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท
TOP กลับด้านบน
ในการก่อการจลาจล กรณีที่ไม่สามารถควบคุมให้ฝูงชนชุมนุมกันโดยสงบ และมีการกระทำของฝูงชนที่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ผู้กระทำก็อาจมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 218 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ดังต่อไปนี้
- โรงเรือน เรือ หรือแพที่คนอยู่อาศัย
- โรงเรือน เรือ หรือแพอันเป็นที่เก็บหรือที่ทำสินค้า
- โรงมหรสพ หรือสถานที่ประชุม
- โรงเรือนอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน เป็นสาธารณะสถานหรือเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมตามศาสนา
- สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน หรือที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ
- เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ อันมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป อากาศยานหรือรถไฟที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 219 ผู้ใดตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 217 หรือมาตรา 218 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับได้พยายามกระทำความผิดนั้น ๆ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 221 ผู้ใดทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 222 ผู้ใดกระทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์ดังกล่าวในมาตรา 217 มาตรา 218 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 224 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 มาตรา 222 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษ ประหารชีวิต หรือจำคุกคลอดชีวิต
ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ สิบปีถึงยี่สิบปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 229 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ทางสาธารณะ ประตูน้ำ ทำนบ เขื่อน อันเป็นส่วนของทางสาธารณะ หรือที่ขึ้นลงของอากาศยาน อยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 230 ผู้ใดเอาสิ่งใด ๆ กีดขวางทางรถไฟหรือทางรถราง ทำให้รางรถไฟ หรือรางรถรางหลุด หลวม หรือเคลื่อนที่จากที่หรือกระทำแก่เครื่องสัญญาณจนน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การเดินรถไฟ หรือรถรางต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 238 ถ้าการกระทำความผิดมาตรา 226 ถึงมาตรา 237 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ถ้าการก่อการจลาจลของผู้ใช้แรงงานได้กระทำในโรงงาน และการกระทำนั้นทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ผู้กระทำต้องมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมกันอยู่ด้วยนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 359 ถ้าการกระทำความผิดมาตรา 358 ได้กระทำต่อ
- เครื่องกล หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมหรืออุตสาหกรรม
- ปศุสัตว์
- ยวดยาน หรือสัตว์พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ หรือในการประกอบกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม
- พืช หรือพืชผลของกสิกร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทังจำทั้งปรับ
TOP กลับด้านบน
การก่อการจลาจลถ้าเหตุการณ์ได้ลุกลามรุนแรงขึ้นถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่นก็อาจมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษ ประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 อนุ 2 และอนุ 3 ผู้ใด
- ...............
- ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำหรือได้กระทำการตามหน้าที่
- ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้น กระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่าแต่ได้ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สามปีถึงสิบห้าปี
ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สามปีถึงยี่สิบปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตาย โดยการกระทำชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่าได้กระทำไปเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปีหรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
อันตรายสาหัสนั้น คือ
- ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
- เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
- เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรือวัยวะอื่นใด
- หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
- แท้งลูก
- จิตพิการอย่างติดตัว
- ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
- ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจน ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ เกินกว่ายี่สิบวัน
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สองปีถึงสิบปี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลนั้นตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ รับอันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำเพื่อห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่เจ้าพนักงานเข้าดำเนินการกับผู้ที่ก่อจลาจล ถ้าผู้ที่ก่อจลาจลไม่เชื่อฟังเจ้าพนักงานหรือต่อสู้ขัดขวางอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 216
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้นได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 139 ผู้ใดข่มขู่เจ้าพนักงานให้ปฏิบัติอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดพันบาท
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 ถ้าความผิดมาตรา 138 วรรคสอง หรือมาตรา 139 ได้กระทำโดยมี หรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันถึงสองหมื่นบาท