    
การเจรจา่ต่อรอง
N e g o t i a t o r

รายละเอียด
กล่าวนำ
ในการแก้ปัญหาเหตุวิกฤติต่าง ๆ เช่นการจับตัวประกัน คนคิดจะฆ่าตัวตาย การชุมประท้วง การล้อมจับคนร้ายที่หลบหนีอยู่ใน
วงล้อมตำรวจทั้งในพื้นที่ป่า หรือภายในตัวอาคารนั้น หน่วยที่มีบทบาทสำคัญหน่วยหนึ่งตามหลักการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจคือการ
ใช้ผู้เจรจาต่อรอง ต่อคนร้ายหรือกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงโดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ได้ยึดถือหลักการที่ว่า
ไม่ต้องการให้มีีการสูญเสียเลือดเนื้อ หรือความเสี่ยงต่อตัวประกัน เจ้าหน้าที่ หรือการก่อการจลาจล โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้
กำหนดไว้ในแผนรักษาความสงบ แผนเผชิญเหตุต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ทีมเจรจาต่อรองในสถานการณ์ต่าง ๆ ไว้ ซึ่งในทางยุทธวิธีตำรวจ
แล้วทีมเจรจาต่อรองเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ ในการแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤต
ความหมายของการเจรจาต่อรอง
ในเหตุการณ์คนร้ายจับตัวประกันหรือยึดสถานที่สำคัญนั้น การเจรจาต่อรอง หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ได้พูดคุย เจรจา ให้คนร้ายได้แสดงออกซึ่งความต้องการ ข้อเรียกร้อง โดยมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นเพื่อการถ่วง ประวิงเวลา หรือการหาข้อมูลข่าวสารจากคนร้ายและมีีจุดมุ่งหมายขั้นสูงคือการให้คนร้ายยอมมอบตัว หรือการปล่อยตัวประกัน
ระดับของการเจรจาต่อรอง
- การเจรจาต่อรองของตำรวจชุดแรกที่ไปยังที่เกิดเหตุ (First Responder)
- เมื่อตำรวจสายตรวจหรือตำรวจชุดแรกที่ไปเผชิญเหตุ คนร้ายอาจต้องการที่จะพูดคุยหรือร้องบอกความต้องการ ระบาย
ความอัดอั้น อึดอัดใจ ของตน ตั้งแต่ตอนเกิดเหตุการณ์ในช่วงเวลาแรก ๆ ของเหตุการณ์ ดังนี้ ตำรวจชุดแรกควรต้องทำการพูดคุยเจรจาหรือติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนคำพูดกับคนร้ายเพื่อทำให้คนร้ายเกิดความ
ปรองดองเชื่อถือตำรวจ
- การเจรจาของชุดเจรจาต่อรอง หรือชุดเจรจาหาข้อมูล (Negotiation Team)
- เมื่อมีการจัดชุดจัดการเหตุวิกฤติหรือศูนย์ปฏิบัติการ (ศปก.) จะมีชุดเจรจาต่อรองซึ่งได้รับการฝึกอบรม ให้ทำหน้าที่เจรจา
โดยเฉพาะ ทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสาร เจรจาต่อรองกบคนร้ายต่อไป
- การเจรจาต่อรองของผู้ที่ถูกจับเป็นตัวประกัน (Hostage Survival)
- ในส่วนของการเจรจาต่อรองหรือการปฏิบัติตัวของผู้ถูกจับเป็นตัวประกัน จะไม่นำมากล่าวในที่นี้
TOP กลับด้านบน
การจัดและหน้าที่ของชุดเจรจาต่อรอง
ในชุดเจรจาต่อรอง มักประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จำนวน 4 นาย ดังนี้
- หัวหน้าชุดเจรจาต่อรอง มีหน้าที่
- จัดสรร มอบหมายลูกทีมทำหน้าที่ต่าง ๆ ในชุดให้เหมาะสม
- ติดต่อประสานงานกับผู้บัญชาการเหตุการณ์ และหัวหน้าส่วนต่าง ๆ ใน ศปก.
- ดูแลการจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ส่งกำลังบำรุงในชุด
- ช่วยเหลือ ผบ.เหตุการณ์ในการประเมินวิเคราะห์การเจรจา ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการเจรจา และเสนอแนะแนวทางการ
เจรจาและการปฏิบัติทางยุทธวิธีอื่น ๆ
- รับคำสั่งหรือข้อมูลข่าวสารจาก ผบ.เหตุการณ์เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของคนร้ายเพื่อให้ผู้เจรจาติดต่อหรือแจ้ง ตกลงหรือ
บ่ายเบี่ยงกับคนร้าย
- ผู้เจรจาหลัก มีหน้าที่ พูดคุยกับคนร้าย
- ผู้เจรจารอง มีหน้าที่
- สนับสนุนช่วยเหลือผู้เจรจาหลักในการช่วยคิดคำพูดหรือวิธีการเจรจา หรือติดตามประเด็นในการเจรจา
- จดบันทึกหรืออัดเทป
- สมาชิกคนที่ 4 มีหน้าที่
- ลงบันทึกเหตุการณ์ในกระดานสถานการณ์
- ดูแลความปลอดภัยในบริเวณห้องเจรจา
- ประสานงานกับฝ่ายอื่นตามที่ ผบ.เหตุการณ์มอบหมาย เช่น หัวหน้าชุดปฏิบัติการทางยุทธวิธีพิเศษ หรือฝ่ายสืบสวน
- ดูแลส่งกำลังบำรุง เช่น จัดเครื่องดื่ม อาหารให้แก่ชุดเจรจาต่อรอง
TOP กลับด้านบน
เทคนิคหรือแนวทางการเจรจา
- กรณีคนร้ายจับตัวประกันแล้วมีข้อเรียกร้องแน่นอน มีการขู่บังคับจะทำร้ายตัวประกัน หากไม่ได้รับการตอบสนอง ตามข้อเรียกร้อง
มีเทคนิคและแนวทางการเจรจา ดังนี้
- ใช้แนวทางการถ่วงเวลา
- พยายามพูดเพื่อลดความต้องการหือทำข้อเรียกร้องของคนร้ายให้ลดความสำคัญลง
- อย่าทำให้คนร้ายรู้สึกว่ามีอำนาจต่อรอง
- เริ่มต้นของการเจรจาอาจมีการให้ “ให้และรับ”
- ให้คนร้ายคิดและทำทุกสิ่งที่เขาได้รับ
- สร้างความเชื่อถือและความสัมพันธ์ระหว่างคนร้ายและผู้เจรจา
- จำกัดพื้นที่ให้รู้ว่าตำรวจล้อมอยู่ และอาจใช้กำลังเมื่อจำเป็น
- พยายามต่อรองให้มอบตัว
- คนร้ายยึดสถานที่ หรือพยามยามคิดฆ่าตัวตาย หรืออาจมีการยึดตัวประกันหรือไม่มีก็ได้แต่ไม่มีข้อเรียกร้องที่สมเหตุสมผลซึ่งเป็นพวก
โรคจิต ประสาท หรือเสพยาเสพติด มีเทคนิคและแนวทางการเจรจา ดังนี้
- ใช้แนวทางเจรจาแบบซื้อเวลา
- พยายามฟังคนร้ายพูดให้มาก และเข้าใจปัญหา ความรู้สึกของคนร้ายให้มาก
- ห้ามขู่เข็ญ หรือตัดสินใจแทนคนร้าย
- หลักเลี่ยงการใช้เทคนิคที่ก่อกวนคนร้าย
- พยายามช่วยให้เขามีเหตุผลมากขึ้น
- สร้างความเชื่อถือและความสัมพันธ์ระหว่างคนร้ายและผู้เจรจา
- แนะนำการแก้ปัญหาของคนร้ายแบบที่ไม่รุนแรง
- ลดการจำกัดวงล้อม หรือขยายวงล้อมรอบในของตำรวจให้กว้างมากขึ้น เพื่อแสดงความตั้งใจว่าตำรวจจะแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี
TOP กลับด้านบน
หลักปฏิบัติในการต่อรองแบบซึ่งหน้า
ตำรวจชุดแรก ๆ หรือเจ้าหน้าที่ของชุดเจรจาต่อรอง ออกใช้วิธีการเจรจาได้หลายวิธี เช่นการใช้โทรศัพท์ แบบที่ใช้ตามบ้าน
โทรศัพท์สนาม หรือโทรโข่ง แต่ถ้าหากคนร้ายต้องการเจรจาต่อรองแบบพูดคุยกันโดยตรง ซึ่งอาจจะมีอันตรายต่อผู้เจรจาต่อรองทั้ง 2 ระดับ
ดังกล่าว จึงควรยึดหลักปฏิบัติดังนี้
- ตกลงสัญญากับคนร้ายให้แน่นอนว่าจะไม่ทำร้ายผู้เจรจาต่อรอง
- อย่าพูดหรือเจรจากับคนร้าย หากคนร้ายยังเล็งปืนมาที่ผู้เจรจา ต้องยืนยันให้คนร้ายลดปืนลงก่อน
- จะเข้าไปพูดเจรจากันซึ่งหน้าได้ก็ต่อเมื่อได้เริ่มต้นเจรจามาแล้วได้ระยะหนึ่ง จนแน่ใจได้ว่าคนร้ายมีเหตุผล หรือมีความเชื่อถือไว้ใจ
ผู้เจรจาแล้วเท่านั้น
- อย่าเข้าไปเจรจาซึ่งหน้ากับคนร้าย ในกรณีที่มีคนร้ายตั้งแต่สองคนขึ้นไป
- พยายามสบตากับคนร้ายตลอดการเจรจา
- ให้มีช่องทางหลบหนีออกหรือที่กำบังสำหรับผู้เจรจาเสมอ
- อย่าหันหลังให้แก่คนร้าย
- ก่อนที่จะเข้าไปพูดเจรจาซึ่งหน้า จะต้องมีการบอกตำนิ รูปพรรณหรือการแต่งกายของทั้งคนร้ายและผู้เจรจาต่อรอง
- พยายามรักษาระยะปลอดภัย ระหว่างคนร้ายและผู้เจรจาไว้เสมอ
- ภายหลังเจรจาแล้วให้จดบันทึกผลการเจรจากบคนร้ายซึ่งหน้านี้
เทคนิคการตั้งใจรับฟัง (Active Listening Skill)
ในบางครั้ง การเจรจากับคนร้ายที่เป็นโรคจิต ประสาท หรืออยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติดนั้น หลักการสำคัญ คือการพยายามสร้าง
ความมั่นใจ เชื่อถือและให้คนร้ายระบายอารมณ์ ดังนี้ ตำรวจชุดแรกที่ไปยังที่เกิดเหตุ แล้วคนร้ายต้องการพูดคุยบอกข้อเรียกร้อง หรือชุดเจรจา
อาจใช้เทคนิคหรือทักษะการตั้งใจรับฟังนี้ชวยให้การเจรจาต่อรองได้ผล
เมื่อตำรวจเข้าเผชิญเหตุคนร้ายจับตัวประกัน หรือคนร้ายหลบซ่อนหรือยึดอาคาร (Barricaded Subject) หรือกรณีคนขู่จะฆ่าตัวตาย
ตำรวจจะพบกับพฤติกรรมของคนร้ายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ใหญ่ๆ ได้เท่านั้น คือ
1.แบบมีข้อเรียกร้อง (Instrumental) เป็นพวกที่ตั้งข้อเรียกร้อง หรือต้องการสิ่งตอบแทนหรือมีความมุ่งหมายในการจับตัวประกัน
ได้ชัดเจน ดังนั้นผู้เจรจาจึงสามารถกำหนดข้อเรียกร้อง หรือความมุ่งหมายของคนร้านนี้ เป็นประเด็นในการต่อรอง หรือดำเนินการตามกระบวน
การวิธีแก้ไขปัญหา (เช่นดำเนินการตามหลักอริยสัจสี่ คือ หาปัญหาหรือความต้องการของคนร้าย หาสาเหตุของปัญหา หาหนทางที่สามารถแก้ไข
และวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด)
2.แบบระบายความรู้สึก (Expressive) เป็นคนร้ายที่มีปัญหาทางจิตหรือประสาท หรือทางอารมณ์ ความสิ้นหวัง ท้อแท้ โกรธแค้น
ชิงชัง หรือมีความรู้สึกอื่น ๆ ที่ต้องการระบาย การกระทำของคนร้ายแบบนี้ไม่ค่อยมีเหตุผล การแสดงออกแปรปรวนไปตามอารมณ์ที่แปร
เปลี่ยนด้วยความรวดเร็ว ไม่สามารถหาเป้าหมาย ข้อเรียกร้อง หรือจุดประสงค์ของคนร้ายได้แน่ชัด แต่ความมุ่งหมายของคนร้ายที่แท้จริง
คือต้องการระบายอารมณ์ แสดงออก เพื่อชดเชยสิ่งที่เสียไป คนร้ายแบบนี้ จึงเหมาะที่จะใช้กลยุทธ์ ทักษะการตั้งใจรับฟัง
ถึงแม้ว่าพฤติกรรมของคนร้ายทั้งสองแบบนี้ จะแตกตางกันคนละขั้ว แต่ในเหตุการณ์จริงแล้วคนร้ายมักจะมีพฤติกรรมผสมกนทั้งสอง
อย่าง ไม่มากก็น้อย โดยอาจจะมีพฤติกรรมแบบหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ และมีพฤติกรรมอีกแบบหนึ่งผสม ดังนั้นจึงทำให้เกิดความยากลำบากกับ
ผู้เจรจาต้องแยกแยะให้ออก โดยในกรณีที่คนร้ายมีการแสดงออกที่ไม่ชัดเจน ผู้เจรจาจะต้องพยายามพูดนำให้คนร้ายแบบนี้ กำหนดถึงปัญหา
หรือความต้องการให้ชัดเจน ผู้เจรจาจะต้องควบคุมบรรยากาศของการเจรจา ในขณะเดียวกันก็จะแสดงความเข้าใจเพื่อให้คนร้ายได้มีความ
เชื่อมั่นในตัวผู้เจรจา อันจะทำให้สถานการณ์คลายความตึงเครียดลง
ในการใช้ทักษะการตั้งใจรับผังนี้ ประการแรกผู้เจรจาจะต้องมีความเข้าใจในสถานการณ์ก่อน เมื่อผู้เจรจาเดินทางไปถึงสถานท
ี่เกิดเหตุเพื่อเริ่มต้นเจรจา ผู้เจรจาจะต้องตระหนักว่าคนร้ายประเภทนี้มีความวุ่นวายสับสนอยู่ในสมองของเขาเองอยู่แล้วในขณะนั้น เพื่อที่จะ
ทำให้คนร้ายออกจากวิกฤติการณ์ดังกล่าวนี้ ผู้เจรจาจะต้องเข้าใจปัจจัยที่ก่อให้เกิดสถานการณ์นั้นขึ้นกับคนร้ายตั้งแต่ต้น
TOP กลับด้านบน
ธรรมชาติของเหตุวิกฤติ
เหตุวิกฤติเป็นเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลเหนือกว่าภาวะทางจิตหรือร่างกายในสภาวะปกติของคนที่จะขจัดข้อขัดของใจได้ ลักษณะของ
เหตุการณ์คับข้องคับขันหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันก่อให้เกิดเป็นเหตุวิกฤต
ในทางจิตวิทยาคนเรามีกลไกป้องกันทางจิต (Defense Machanism) ได้แก่การเรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขขจัดความอยาก เช่นเมื่อเรา
ทำผิดอะไรสักอย่าง เช่นจอดรถในที่ห้ามจอด ในใจเรารู้สึกว่ามีความผิดแต่เราก็จะมีกลไกป้องกันทางจิตมาคิดหักล้างว่า เรื่องดังกล่าวเป็น
เรื่องเล็กน้อย ใคร ๆ เขาก็ทำกัน ลักษณะกลไกป้องกันทางจิตนี้ ก็จะเป็นแบบอย่างที่จะจดจำไว้ในสมองของคน ที่จะคิดแก้ไข ตามแบบท
ี่เคยคิด เคยแก้เมื่อพบปัญหาต่าง ๆ ที่แก้ไขไม่ได้
เมื่อคนเราเจอปัญหาที่แก้ไม่ตก ซึ่งมักเป็นปัญหาที่ไม่เคยเจอ เริ่มต้นเป็นความกังวล เมื่อเจอหลาย ๆ เรื่องเข้า ก็จะเกิดเป็นปัญหา
ทางจิต ที่ต้องหาทางออกขึ้น ซึ่งมักจะเป็นคนร้ายจับตัวประกันหรือขู่ฆ่าตัวตาย แบบระบายความรู้สึก ยิ่งอยู่ในภาวะตึงเครียด ก็ยิ่งทำให้สติ
และการใช้เหตุผลแก้ไขปัญหาก็ยิ่งสับสน
เมื่อคนเราประสบปัญหาหรือวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่แก้เองไม่ได้ คนเราก็มักหาคนอื่น เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาขอความเห็นใจ
เข้าใจ ขอการสนับสนุน ขอการปกป้อง จากการวิจัยพบว่าคนเรานั้นมีลักษณะนิสัยที่มักต้องพึ่งพาคนอื่น วิกฤติการณ์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่ม
ีลักษณะที่ตัดขาดคนเราจากการสนับสนุนต่าง ๆ เมื่อคนที่ประสบเหตุวิกฤติร้องขอการสนับสนุนแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ย่อมทำให้คนเหล่า
นั้นเกิดความโกรธ ความกลัว ความกังวล และแสดงออกในลักษณะการระบายอารมณ์
หัวข้อและรายละเอียดที่สำคัญในห้องเจรจาต่อรอง
1. คนร้ายและอาวุธที่ใช้
2. ตัวประกัน
3. ประวัติทางการแพทย์ของคนร้ายและตัวประกัน
4. ข้อเรียกร้อง / เส้นตาย
5. ลำดับเหตุการณ์
6. การปฏิบัติของตำรวจ
7. แผนการส่งสิ่งของต่าง ๆ
8. บุคคลภายนอกที่ช่วยเจรจา
9. แผนการมอบตัว
10. สิ่งที่ต้องรู้
11. สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง
12. หมายเลขโทรศัพท์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
13. ข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง
สรุป
การเจรจาแก้ไขเหตุวิกฤตินั้น ผู้เจรจาจะต้องเผชิญกับคนร้ายที่มีอารมณ์หลายรูปแบบ แต่โดยส่วนมากแล้วักจะเป็นคนร้ายพวกชอบ
ระบายอารมณ์หรือมีความแปรปรวนทางอารมณ์
คนร้ายแบบระบายอารมณ์นั้นเป็นพวกที่มีกลไกป้องกันทางจิตหรือวิธีการแก้ปัญหาทางจิตตนเองบกพร่อง เมื่อพบปัญหาที่แก้ไม่ได้
หรือปัญหาคับขัน ความคิดของเขาจะสับสนวุ่นวาย ทำให้การแก้ปัญหาของเขาไม่มีเหตุผล ผู้เจรจาที่มีความสามารถและมีทักษะจะมีอิทธิพล
ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาโดยการใช้การสนับสนุนและไม่ทะเลาะกับคนร้าย ด้วยการใช้เทคนิคตั้งใจรับฟังพูดง่ายๆก็คือการที่ผู้เจรจา
แสดงให้คนร้ายเห็นว่าเขาไม่ได้ข่มขู่คนร้ายแต่เป้าหมายก็คือการช่วยคนร้ายให้ออกจากภาวะวิกฤติเมื่อผู้เจรจาแสดงให้เห็นว่าเขามีความเห็น
ใจและเข้าใจทำให้เกิดความเชื่อใจเป็นพวกเดียวกันซึ่งจะทำให้ผู้เจรจามีอิทธิพลเหนือการปฏิบัติของคนร้ายโดยการช่วยแก้ปัญหาอย่างม
ีเหตุผลพูดสั้นๆง่ายๆด้วยการแสดงการสนับสนุนเห็นใจและเข้าใจทำให้ผู้เจรจาสามารถพูดคุยกันคนร้ายที่มีอารมณ์แปรปรวนหรือพวกระบาย
อารมณ์ให้มอบตัวด้วยการรับฟัง
TOP กลับด้านบน
อ่านข่าวด่วนข่าวเด่นจาก RSS thai
|