- ประธาน ตามคำสั่ง ศสส.ภ.2 ที่ 6/2552 ลง 4 ก.พ.2552 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 และคำสั่ง กก.ปพ.ที่ 1/2552 ลง 12 ก.พ.2552 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 3.1.22 นี้ ซึ่งได้มอบหมายให้คณะทำงานดำเนินการศึกษาวิเคราะห์กำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบทางบวกและทางลบแล้วนำมากำหนดเป็นนโยบายในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้ยกระดับสู่มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและศรัทธาจากประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วและประธานได้เห็นชอบดำเนินการตามที่คณะทำงานกำหนดแนวทางมาแล้ว ขอมอบหมายให้คณะทำงานชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ และจะได้มอบหมายผู้รับผิดชอบต่อไป รวมทั้งต้องมีการประเมินวัดผลที่เป็นผลลัพธ์ไว้เป็นหลักฐานด้วย
เลขานุการ ตามที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตามตัวชี้วัดที่ 3.1.22 คณะทำงานได้ทำการศึกษาโดยนำ ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ ของ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 ทำพิจารณาผู้รับบริการจากการปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ ของหน่วย รวมทั้งได้วิเคราะห์ผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวแล้วนำมาใช้กำหนดนโยบายการปฏิบัติของหน่วยเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ของหน่วยเหนือ คณะทำงานได้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติในส่วนต่าง ๆ แล้วจะได้ให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
นโยบายในการพัฒนากองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
ต้องมีการพัฒนาหน่วยให้อยู่ในระดับแนวหน้าของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ระดับ ตร. ดังเช่น หน่วยปฏิบัติการพิเศษ 261 , อรินทราช 26 โดยมีศักยภาพและความชำนาญในทุก ๆ ด้าน โดยพัฒนาปรับปรุงหน้างานของกองกำกับการปฏิบัติพิเศษ ศสส.ภ.2 ตามอำนาจหน้าที่ได้กำหนดไว้ตาม ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 ตามรายละเอียดของผลผลิต และบริการหลักของหน่วย ผลลัพธ์และผลกระทบทางบกและทางลบของหน่วย ดังนี้
ฉะนั้น ข้อมูลตามตารางข้างต้นต้องดำเนินการเป็นภารกิจหลักซึ่ง กก.ปพ.ฯ ที่ต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการหลัก
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องประธานสั่งการในที่ประชุม
ประธาน ประธานสั่งการให้ คณะทำงานตามตัวชี้วัดที่ 3.1.22 ดังนี้
1. มอบหมายให้คณะทำงานเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามผลผลิตและบริการหลักเพื่อให้บรรลุผล และกำหนดเป็นตัวชี้วัดค่าเป้าหมายในการวัด ผลผลิตและบริการหลัก โดยทำจัดบันทึกผลการประชุมและการสั่งการของประธานให้ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
2. ให้มีการวัดผลที่เป็นผลลัพธ์ (Outcome) โดยจัดทำหลักฐานการกำหนดตัวชี้วัดที่เป็นผลลัพธ์
ประธาน สอบถามที่ประชุมว่ามีความเห็นเป็นอย่างอื่นอีกหรือไม่ หากไม่มีขอมติที่ประชุม
ที่ประชุม รับทราบ
ประธาน กล่าวปิดการประชุม
เลิกประชุมเวลา 15.00 น.
ว่าที่ พ.ต.ต. สุริยะ โพธิ์ทองนาค เลขานุการ / บันทึก / รับมอบ
**********************************
TOP กลับไปสารบัญ
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 : ระดับความสำเร็จของการวางแผนปรับปรุงองค์กรสู่การจัดการผลกระทบทางลบต่อองค์กรและสังคม
ผลการศึกษาและวิเคราะห์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
ของ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
วันพฤหัสบดีที่ 30 เม.ย.2552
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 : ระดับความสำเร็จของการวางแผนปรับปรุงองค์กรสู่การจัดการผลกระทบทางลบต่อองค์กรและสังคม
คณะทำงาน
1. ว่าที่ พ.ต.ต.สุริยะ โพธิ์ทองนาค สว.กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน / ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด
2. ด.ต.บุญเยี่ยม ศรีวิเศษ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
3. ด.ต.เกียรติ มูลมาตย์ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
ขอบเขตในการศึกษา
1. ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548
2. แผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และของตำรวจภูธรภาค 2
3. ผลกระทบทางลบ จาก ผลการศึกษาผลผลิตและบริการ ผลลัพธ์และผลกระทบทางบวกและทางลบ ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.1
4. การจัดการผลกระทบทางลบ (CSR)
ผลการศึกษาวิเคราะห์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
ของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
กล่าวนำ
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้สัมผัสกับประชาชนโดยตรง โดยตามภารกิจอำนาจและหน้าที่ที่ ตร. ได้กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 สรุปภารกิจได้ดังนี้
- งานอำนวยการและธุรการ
- งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
- งานเจรจาต่อรอง
- งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ
- งานควบคุมฝูงชน
- งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ
- งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่
จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ จะเป็นไปในลักษณะกรณีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤต หรือเป็นเหตุเฉพาะที่ใช้หน่วยพิเศษในการเข้าคลี่คลายและแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าหน่วยงานจะไม่ได้สัมผัสกับประชาชนโดยตรง เช่น โรงพัก แต่เมื่อได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่แล้วจะต้องมีการปฏิบัติต่อประชาชนทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือความรู้สึกต่อประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งตามข้อมูลผลการศึกษาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการปฏิบัติหน้าที่ตามหน้างานทั้ง 7 หน้างานดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
1. |
งานอำนวยการและธุรการ |
- ดำเนินการทางด้านงานธุรการ การประสานงานกับหน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียง หน่วยงานนอกสังกัด ตร. ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบของ กก.ปพ.ฯ ที่จำเป็นแก่ประชาชน หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เช่น ภัยการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ บุคคลมีหมายจับการก่อความไม่สงบ การสังเกตและการปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัยเป็นระเบิด การป้องกันตัวสำหรับสตรีและเยาวชน ฯ
- รับแจ้งเบาะแสจากประชาชนเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ เช่น ข้อมูลบุคคลต้องสงสัยของอาชญากรข้ามชาติ บุคคลก่อความไม่สงบ คนร้ายมีอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิด ผู้มีอิทธิพล ฯ แล้วจัดทำเป็นเอกสารรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
ดำเนินการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ได้รับการแจ้งเบาะแสหรือการร้องเรียนจากประชาชน การรายงานผลการปฏิบัติ และการเก็บรวบรวมข้อมูลของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. มีการประสานงานที่ดีภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีระบบมากขึ้น
2. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน เริ่มรู้จักและมีความเข้าใจในภารกิจของหน่วยมากขึ้น
3. ประชาชนและหน่วยงานต่างๆได้รับข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษฯ
4. มีช่องทางให้ประชาชนแจ้งข้อมูล เบาะแส เกี่ยวกับอาชญากรรมร้ายแรง การจับตัวประกัน คนคิดฆ่าตัวตาย ฯ
ทางลบ
1. จำนวนเจ้าหน้าที่ธุรการมีน้อย หากมีปริมาณงานการบริการหลักมีข้อปฏิบัติมาก อาจทำให้เกิดการล่าช้าในงานบางอย่างได้
2. ความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างมากโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร
อินเตอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์
3. การเปิดช่องทางการแจ้งเบาะแสอาจเป็นช่องในการกลั่นแกล้งของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. งานอำนวยการและธุรการมีระบบ การจัดเก็บข้อมูล มีการประสานงานที่ดีภายในและภายนอกหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน
2. หน่วยงานภายในและภายนอกสังกัด หน่วยงานข้างเคียง ภาครัฐและเอกชน ให้ความเชื่อถือและรับทราบภารกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
3. การให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่องานเกี่ยวกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีช่องทางให้ข่าวสาร ร่วมมือกับหน่วยงานซึ่งเป็นงานเฉพาะทางได้เป็นอย่างดี
ทางลบ
1. ข่าวเกี่ยวกับการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ อาวุธร้ายแรง เมื่อประชาสัมพันธ์ออกไป อาจทำให้เกิดการตื่นตระหนกได้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
2. กลุ่มชุมนุมประท้วงทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่บางขั้นตอนโดยเฉพาะรู้ตัวผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและอาจนำไปใช้ในการต่อรองกดดันฝ่ายบริหาร
3. คนร้าย หรือผู้ก่อความไม่สงบ หรือผู้ก่อการร้าย อาจได้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือกับเจ้าหน้าที่ชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ(SWAT) และอาจทำการต่อต้านในการเข้าแก้ไขสถานการณ์ หรือการจับกุมได้ |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
2. |
งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ |
- จัดเจ้าหน้าที่ชุดรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษเพื่อเตรียมพร้อมในการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 หรือตามที่ ตร.มอบหมาย ทั้งที่มีหมายกำหนดการหรือเป็นการส่วนพระองค์
- ร่วมตรวจพื้นที่รับเสด็จและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในขบวนเสด็จรวมทั้งตำรวจพื้นที่ หน่วยราชการอื่น ๆ ที่ร่วมปฏิบัติ
-หน่วยงานในสังกัด ตร.และ ภ.2
-กรมสมุหราชองครักษ์ หรือฝ่ายทหาร
-สำนักพระราชวัง -หน่วยงานอื่นๆที่ร่วมปฏิบัติในการ ถปภ. |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. มีความพร้อมในการปฏิบัติในการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง
2. มีการประสานการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการถวายความปลอดภัย
ทางลบ
1. จำนวนเจ้าหน้าที่ชุดรถอาวุธและอุปกรณ์มีน้อยและมีภารกิจเกี่ยวกับการช่วยเหลือตัวประกันและสนับสนุนพื้นที่ทางด้านยุทธวิธีด้วย หากมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในช่วงที่กำลังปฏิบัติภารกิจรับเสด็จอยู่ ในการช่วยเหลือตัวประกันจะมีเจ้าหน้าที่ชุด SWAT ไม่เพียงพอ ซึ่งหัวหน้าชุดต้องปฏิบัติภารกิจ ถปภ.ด้วยตนเองทุกครั้ง
2. หากมีขบวนเสด็จหลายพระองค์พร้อมๆกันในพื้นที่ กำลังจะไม่เพียงพอ รวมทั้งยานพาหนะที่ได้รับจ่ายแจกจาก นรป.ที่ใช้การ ถปภ.ของ กก.ปพ.ฯ มีเพียง 2 คัน อาจทำให้เกิดการล่าช้าในการถวายความปลอดภัยเพราะต้องนำรถที่อยู่ในส่วนอื่นมาใช้ในการรับเสด็จ
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. ผู้บังคับบัญชาให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เพิ่มอัตรากำลังพลชุดรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษหรือขออนุมัติจัดตั้งเจ้าหน้าที่ไว้เป็นอีกแผนกหนึ่งเป็นการเฉพาะ
2. หน่วยงานต่างๆที่ร่วมปฏิบัติ มีความรู้ความเข้าใจในภารกิจของรถอาวุธฯ และร่วมประสานการปฏิบัติในกรณีหรือเมื่อมีเหตุได้เป็นอย่างดี ไม่สับสน
3. ได้รับงบประมาณในการจัดสรรอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัวในการต่อต้านการถูกซุ่มโจมตี ได้รับยานพาหนะที่มีสมรรถนะสูงประจำชุดรถอาวุธไว้โดยเฉพาะ
4. ได้รับงบประมาณในการฝึกซ้อมการปฏิบัติต่างๆที่ใช้การถวายความปลอดภัยทั้งหมดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชุด
ทางลบ
1. ความไม่เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติในขบวนเสด็จอาจทำให้เกิดเหตุร้ายได้
2. การประสานงานภายในขบวนและท้องที่ใช้ข่ายการสื่อสารคนละช่องทางในการติดต่ออาจทำให้เกิดปัญหาในการแจ้งเหตุ หรือข่าวสารใด
3. ภารกิจทุกครั้งส่วนใหญ่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น อาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ในขบวน และส่วนอื่น ๆ ขาดความกระตือรือล้นในการระมัดระวังเหตุ และอาจไม่เตรียมแผนเผชิญเหตุไว้แก้ไขปัญหาเมื่อมีเหตุ |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
3. |
งานเจรจาต่อรอง |
จัดเจ้าหน้าที่ชุดเจรจาต่อรองรองรับ กรณี คนร้ายจับตัวประกัน คนคิดฆ่าตัวตาย กลุ่มชุมนุมประท้วง เพื่อสนับสนับตำรวจพื้นที่ในการปฏิบัติและเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. มีเจ้าหน้าที่ชุดเจรจารองรับในเหตุเฉพาะ
กรณี - การจับตัวประกัน ฯ เพื่อประสานข้อมูลข้อเรียกร้อง จำนวนตัวประกัน คนร้าย อาคารสถานที่ ตำแหน่งที่อยู่ของตัวประกัน คนร้าย ลักษณะโครงสร้างอาคาร ให้แก่ชุดการข่าว และชุดช่วยเหลือตัวประกัน ได้เป็นอย่างดี
- แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง เพื่อให้ได้รับข้อมูลข้อเรียกร้องต่าง ๆ เพื่อเสนอชุดบริหารเหตุการณ์นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
2. ผู้ที่ทำงานหรือที่ร่วมในสถานการณ์นั้น เช่น ตำรวจท้องที่ ตำรวจอาสา ประชาชน กู้ภัย มูลนิธิ รู้บทบาทของตัวเอง ไม่ดำเนินการในส่วนที่เป็นหน้าที่ของทางราชการ ซึ่งจะไม่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
ทางลบ
1. ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถอย่างแท้จริง เนื่องจากกำลังพลไม่เพียงพอ เมื่อได้รับการร้องขอทำให้ไม่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติในส่วนชุดเจรจาได้
2. เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในขั้นตอนการเจรจา ข้อมูล การตัดสินใจ การปฏิบัติของส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะชุดช่วยเหลือตัวประกันได้เป็นอย่างดี
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. หน่วยมีเจ้าหน้าที่ชุดเจรจาต่อรอง ทำให้ประสานการปฏิบัติในทุกส่วนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีความรู้ความชำนาญในการต่อรอง การข่าว การลวงเอาข้อมูล การสังเกต เส้นวิกฤตที่ต้องดำเนินการปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกัน
2. มีการทำงานอย่างเป็นระบบ การกันสถานที่เกิดเหตุ และผู้ไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้
ทางลบ
1. การทำงานของชุดเจรจาเมื่อทำงานสำเร็จบ่อยครั้งอาจทำให้มองเห็นเป็นวีรบุรุษ ทำให้เกิดพฤติการณ์อยากเป็นวีรบุรุษ เข้าไปเป็นผู้เจรจาเสียเอง ทำให้เกิดการสูญเสียขึ้นได้ |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
4. |
งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ |
- จัดเจ้าหน้าที่ชุด SWAT ที่ได้รับการฝึกจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 จาก บก.สอ.บช.ตชด.
มีหน้าที่ สนับสนุนตำรวจท้องที่ทางด้านยุทธวิธีในการช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ การจู่โจมล้อมจับคนร้ายคดีสำคัญ การวางแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการในพื้นที่เกิดเหตุวิกฤติ การประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางยุทธวิธี |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. หน่วยงานมีชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ(SWAT) รองรับเหตุซึ่งต้องเป็นชุดเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะทางด้านยุทธวิธีการปฏิบัติการพิเศษ ทั้งการช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย จู่โจมล้อมจับคดีสำคัญและสามารถเรียกกำลังได้อย่างรวดเร็ว
2. เป็นชุดรองรับการปฏิบัติการตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นชุดสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤติ
3. เป็นหน่วยสนับสนุนชุดปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้งฝ่ายสืบสวน สายตรวจ ท้องที่ ฯ ทางด้านยุทธวิธีพิเศษ เมื่อประสบกับคนร้ายมีอาวุธร้ายแรง หรือมีพฤติการณ์ต่อสู้ขัดขวางการจับกุม
4. สามารถทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 อรินทราช 26 เช่น การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนทางยุทธวิธี กรณีการก่อการร้ายสากล แผนผังโครงสร้างอาคาร เส้นทาง ตัวประกัน คนร้าย
5. ความปลอดภัยของตัวประกัน และประชาชน และมีความเชื่อถือและถือเป็นที่พึ่งสุดท้ายในการปฏิบัติการทางด้านยุทธวิธีของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์การคับขันและวิกฤติ
ทางลบ
1. ความไม่เข้าใจของประชาชนที่เห็นว่าชุด SWAT เป็นชุดที่มีอาวุธร้ายแรงเกินความจำเป็น
2. หน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่ทราบข้อมูลของการจัดตั้งชุด SWAT ขึ้นมาเพื่อรองรับเหตุวิกฤติตามกฎหมาย และผู้บังคับบัญชาไม่กล้าใช้ในการดำเนินกลยุทธ์
3. หน่วยงานต่าง ๆ และประชาชน ยังไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติตามภารกิจของเจ้าหน้าที่ชุด SWAT อาจทำให้การปฏิบัติการบางสถานการณ์ไม่ลื่นไหล และต้องคอยตอบคำถามที่ไม่เข้าใจ
4. ในคดีที่มีความละเอียดอ่อนต่อกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะหาวิธีการพูดโจมตีหน่วยงานหรือรัฐบาลทำให้การปฏิบัติงานบางขั้นตอนเกิดการชะงักได้
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. ชุดยุทธวิธีตำรวจพิเศษ (SWAT) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารเหตุการณ์ในการปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกันการก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย เมื่อเกิดเหตุที่ต้องใช้กำลังในการเข้าแก้ไขในทันที
2. สามารถเสนอแนะแนวทาง แผนในการปฏิบัติในการช่วยเหลือตัวประกัน รวมทั้งขั้นตอนต่าง ๆ ในส่วนของชุดโจมตีและพลซุ่มยิง รวมทั้งแผนการรับตัวประกัน แผนการส่งคนร้าย
3. ตำรวจท้องที่สามารถขอรับการสนับสนุนทางด้านยุทธวิธีเมื่อต้องประสบกับคนร้ายคดีสำคัญ อาวุธร้ายแรง หรือมีพฤติกรรมเหี้ยมโหดต่อสู้ขัดขวางการจับกุม
4. ตัวประกันปลอดภัย
5. ได้รับการสนับสนุนในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ยานพาหนะ การฝึกหลักสูตรต่าง ๆ เพิ่มเติม
ทางลบ
1. ประชาชนไม่เข้าใจเช่นการว่าเป็นการปฏิบัติการคล้ายทหารมากเกินไป
2. หน่วยมีความจำเป็นต้องได้รับกำลังพลเพิ่ม
3. ปัจจุบันอาวุธยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะ มีสภาพเก่าไม่ทันสมัย อาจเกิดการเสียหายในการช่วยเหลือตัวประกันได้ |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
5. |
งานควบคุมฝูงชน |
- จัดเจ้าหน้าที่กองร้อยควบคุมฝูงชน และชุดอาวุธพิเศษ ตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ48)
- เพื่อสนับสนุนตำรวจท้องที่ กองร้อย ปจ.ในสังกัด ภ.2 เมื่อได้รับการร้องขอ
- ประชาสัมพันธ์หรือปฏิบัติการทางจิตวิทยาให้ประชาชนทราบถึงสิทธิการชุมนุมประท้วงตามกรอบของกฎหมายและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าหน้าที่เมื่อมีการละเมิดกฎหมาย
ให้เจ้าหน้าที่และประชาชนทราบถึงระดับการใช้กำลัง |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. เป็นชุดสนับสนุนกองร้อย ปจ. ที่จัดไว้แล้ว
2. การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และการปฏิบัติต่อประชาชนรวมทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
3. การประสานงานการปฏิบัติและร่วมกับกองร้อย ปจ.อื่นๆ ได้อย่างไม่สับสน
4. กลุ่มผู้ชุมนุมและแกนนำทราบถึงกรอบของกฎหมายและระดับการใช้กำลัง
ทางลบ
1. ปัจจุบันกำลัง ปจ.ของหน่วย มีเพียง 1 หมวด เมื่อสนับสนุนกับท้องที่จะปฏิบัติการได้ไม่เต็มศักยภาพ
2. ความขัดแย้งทางการเมืองและความคิดของกลุ่มผู้ชุมนุมแต่ละฝ่ายเริ่มไม่เคารพกฎหมายและสายการบังคับบัญชาที่ยาวไม่มีผู้ใดกล้าตัดสินใจใช้กำลังแม้ว่าจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนของระดับการใช้กำลังแล้วก็ตาม
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. มีกำลัง ปจ.สนับสนุนกองร้อย ปจ. ปกติได้ เมื่อได้รับคำสั่ง
2. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการได้ตามกรอบของกฎหมายและระดับการใช้กำลัง
3. กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอยู่ในกรอบของกฎหมาย
4. เหตุการณ์สงบไม่มีความรุนแรง
ทางลบ
1. เจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดความเครียดเมื่อปฏิบัติหลายวันอาจทำให้ความอดทนต่อการยั่วยุของกลุ่มผู้ชุมนุมลดลงทำให้เกิดเหตุปะทะจนลุกลามกลายเป็นเหตุร้ายแรง
2. การฝึกซ้อมกองร้อยควบคุมฝูงชนบ่อย ๆ โดยขณะที่มีการชุมนุมประท้วง อาจทำให้แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง หรือประชาชนทั่วไป มองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้กำลังในการสลายการชุมนุม |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
6. |
งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ |
- จัดครูฝึกทางด้านยุทธวิธีตำรวจ โดยจัดหลักสูตรและเตรียมแผนการฝึกตามระดับความสำคัญของยุทธวิธีให้ตามความเหมาะสม
- ฝึกอบรมทบทวนภายใน
- ฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานภาครัฐนอกสังกัด ตร.
ฝึกอบรมให้แก่เอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชน ได้รับการฝึกอบรมจากครูฝึกที่มีความรู้ความชำนาญรวมทั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงสามารถให้ความรู้ทักษะทางด้านการยิงปืน การป้องกันตัว ฯ ได้ดี
2. สำหรับเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่รับการฝึกทางด้านยุทธวิธีสามารถลดความสูญเสีย และการความรอบคอบในการปฏิบัติงาน การวางแผนการปฏิบัติงานที่ดี
3. สร้างภาพลักษณ์ให้กับภาคเอกชนและประชาชนได้เป็นอย่างดี
4. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในภายนอกและระหว่างหน่วยงานได้เป็นอย่างดี
ทางลบ
1. เจ้าหน้าที่ที่ไม่ชอบการฝึกจะทำให้เกิดบรรยากาศทั้งระหว่างการฝึกและหลังการฝึกไม่ดี
2. ผู้ได้รับการฝึกอาจนำไปต่อยอดการฝึก เทคนิคต่าง ๆ ให้กับกลุ่มคนร้ายโดยคาดไม่ถึง
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. เป็นที่เชื่อของหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ประชาชนทั่วไป และให้ความสนใจที่จะเข้ามารับการฝึกอบรม
2. เป็นภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานได้ในระยะยาว
3. มีการถ่ายเทคนิคและยุทธวิธีให้กับข้าราชการตำรวจอย่างต่อเนื่องจนเป็น รปจ. ทำให้ลดการสูญเสียของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานทางด้านการจับกุมคนร้าย การตรวจอาคาร ยานพาหนะ
ทางลบ
1. ผู้ที่ผ่านการฝึกอาจนำไปถ่ายทอดให้กับคนร้ายโดยไม่รู้ตัว |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
7. |
งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่ |
- จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ เช่น ผู้นำประเทศ พยานคดีสำคัญ ผู้ต้องหาคดีสำคัญ ฯ
- จัดเจ้าหน้าที่สิบเวรยามรักษาความปลอดภัย กก.ปพ.ฯ , บ้านพักข้าราชการของผู้บังคับบัญชา
รักษาความปลอดภัยสถานที่จัดงานมหกรรม เมื่อได้รับการร้องขอ |
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะสั้น
ทางบวก
1. สร้างความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
2. เป็นการคุ้มครองพยานสำคัญ ผู้ต้องหาสำคัญ ระหว่างเดินทาง ฝากขัง ถูกลอบทำร้าย หรือชิงตัว
3. สร้างความปลอดภัยให้กับสถานที่สำคัญ หรือมีบุคคลสำคัญพักอาศัยอยู่
4. สถานที่ราชการทั้งที่หน่วย และที่พักผู้บังคับบัญชาระดับสูงมีความปลอดภัย
ทางลบ
1. ผู้กว้างขวาง หรือผู้มีอิทธิพล นักการเมืองบางคนอาจใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครอง
2. จะสูญเสียกำลังไปในการคุ้มครองจากภารกิจหลักของตำรวจเมื่อต้องไปปฏิบัติเป็นระยะเวลานาน
ผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว
ทางบวก
1. เป็นเครื่องให้กับผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาใช้เจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญในลักษณะและสถานการณ์ต่างๆ ได้
2. เป็นการคุ้มครองดูแลประชาชนที่มีความสำคัญได้
3. เมื่อมีภารกิจสำคัญ ๆ สามารถสนับสนุนกำลังการ รปภ.บุคคลและสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางลบ
1. อาจเป็นเครื่องมือของผู้มีอิทธิพล นักการเมืองบางคน หรือนักธุรกิจบางคน อาศัยช่องทางขอเจ้าหน้าที่ไปทำการคุ้มครองให้
2. กำลังเจ้าหน้าที่ในงานปกติจะหายไปเพราะระยะเวลาในการคุ้มครองแล้วแต่ความเห็นชอบจากผู้บังคับชา (ตามขั้นตอน)
3. สร้างนิสัยที่ไม่ดีให้แก่ตำรวจผู้ปฏิบัติ เพราะมีความรู้สึกว่าเป็นงานสบาย ไม่ต้องมาทำหน้าที่ปฏิบัติงานตามสายงานปกติ |
จากตารางข้างต้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษได้ดังนี้
- งานอำนวยการและธุรการ
- จัดระบบงานธุรการให้เป็นระบบ รวดเร็ว มีระบบสืบหาข้อมูล
- อบรมพัฒนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน ภารกิจ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ โดยพิจารณาตาม พ.ร.บ.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ฯ และข่าวที่ไม่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาชนส่วนใหญ่ หรือข่าวที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด
- เปิดช่องทางรับข้อมูลการแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางอีเมลล์ ทางจดหมาย หรือทางโทรศัพท์ ฯ
- รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ตรวจสอบ รายงานผล(ทั้ง ผู้บังคับบัญชา และประชาชนทราบ) และจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
- งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
- การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ถวายความปลอดภัย
- ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์
- ประชาชนที่ใช้รถหลงเข้ามาในเส้นทางเสด็จหรือกำลังจะออกมาเทียบขบวนเสด็จ
- ใช้ยุทธวิธีการสกัดกั้น โดยคำนึงถึง
- ความปลอดภัยของรถพระที่นั่งและรถในขบวนเสด็จ
- ความปลอดภัยประชาชนที่หลงเข้ามาในเส้นทางเสด็จ
- การใช้สัญญาณแจ้งเตือน สัญญาณเสียง ไมโครโฟน และท่าทางโดยความละมุนละม่อม แต่การปฏิบัติเป็นไปโดยปลอดภัย
- ระหว่างการปฏิบัติพระราชกรณียกิจณที่หมาย
- การประชาสัมพันธ์การนั่ง การห้ามถ่ายรูป การแต่งกาย การอยู่ในที่จัดไว้สำหรับการรับเสด็จ การเดินตัดขบวน ฯ
- ใช้วาจาที่สุภาพ และ เป็นที่เข้าใจของประชาชน
- งานเจรจาต่อรอง
- การใช้หลักการเจรจาตามขั้นตอน
- การใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อประชาชนทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ออกจากที่เกิดเหตุ ในพื้นที่ที่จำกัดไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
- การปฏิบัติต่อคนร้าย ตัวประกัน กลุ่มชุมนุมประท้วง หรือแกนนำ เป็นไปด้วยความละมุนละม่อม และมีความความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ของคนร้าย
- การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าทีต่างหน่วย หรือองค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ ต่าง ๆ เป็นไปด้วยดี สร้างบรรยากาศการร่วมงานที่ดี
- การปฏิบัติทั้งขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ใช้หลักจิตวิทยา และการทำงานที่เป็นขั้นตอนตามหลักการเจรจาต่อรอง
- งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ
- ระหว่างการเข้าพื้นที่เกิดเหตุ
- การใช้เส้นทางโดยความเร่งด่วน มีการใช้สัญญาณไฟวับวาบ สัญญาณเสียงเตือน และไมโครโฟน แจ้งขอทาง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย คำพูด และวิธีการปฏิบัติที่ละมุนละม่อม
- ระหว่างการเข้าปฏิบัติการ เมื่อพบประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ให้ออกจากที่เกิดเหตุ
- การวางแผนและการเข้าปฏิบัติการนอกจากคำนึงถึงถึงความปลอดภัยของตัวประกันแล้วให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนใกล้ที่เกิดเหตุ เช่น วิถีกระสุน ขนาดกระสุนที่ใช้ยิง อาวุธที่ใช้
- การปฏิบัติต่อตัวประกัน คนร้าย เป็นไปตามยุทธวิธี
- การฟื้นฟูที่เกิดเหตุเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ
- งานควบคุมฝูงชน
- การวางแผนการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนที่ดี
- จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) โดยแบ่งแยกหน้าที่ให้ชัดเจน ผบ.เหตุการณ์คือใคร เจ้าหน้าที่ชุดเจรจารับฟังข้อเรียกร้องจากตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม
- การประชาสัมพันธ์โดยการประกาศเกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบและที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย
- การประกาศแจ้งเกี่ยวกับขั้นระดับการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนเพื่อให้ทุกฝ่ายทราบและเป็นที่เข้าใจ
- การปฏิบัติการทางจิตวิทยา ไม่กดดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่เกิดความเครียดและสร้างบรรยากาศการชุมประท้วงให้เป็นไปโดยสงบ
- การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การจัดการจราจร การประสานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
- การปฏิบัติขณะมีการชุมนุม และภายหลังมีการชุมนุม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- ทั้งในยามปกติ และ การใช้กำลังในการสลายการชุมนุม
- การฝึกซ้อมกองร้อยควบคุมฝูงชนและประชาสัมพันธ์ให้ตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้รับรู้ถึงการปฏิบัติของกองร้อยควบคุมฝูงชนที่ปฏิบัติตามระดับการใช้กำลังที่เป็นไปตามกฎหมาย
- การฝึกใช้อาวุธ โล่ กระบอง การยิงกระสุนแก๊สน้ำตา ที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
- งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ
- วัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่หน่วย
- จัดทำโครงการหรือแผนการฝึกให้การภาคเอกชนและประชาชน เกี่ยวกับการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น ธนาคาร ร้านค้าทอง ปั๊มน้ำมัน ฯ ประชาชนทั่วไป
- การยิงปืนขั้นพื้นฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน
- ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี และเยาวชน
- การรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ บ้านพัก
- จัดทำโครงการของบประมาณสร้างสนามยิงปืนทางยุทธวิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนทั่วไป
- จัดสถานที่สำหรับการฝึกและประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหน่วย
- งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่
- เป็นการปฏิบัติกฎหมายคุ้มครองพยาน
- การรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญระดับประเทศ ระดับชาติ เพื่อความเชื่อมั่นแก่หน่วยงาน และประเทศ
- การรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายแก่หน่วยงานและที่ประชาชนต้องมาติดต่อใช้บริการ
- เป็นการคุ้มครองพยานสำคัญ ผู้ต้องหาสำคัญ ให้สามารถดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมจนจบ
- ในงานมหกรรมใหญ่ ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาท การทำร้ายชีวิตร่างกาย การประทุษร้ายต่อทรัพย์ ให้อยู่ในการควบคุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- การปฏิบัติต่าง ๆ เป็นไปด้วยความละมุนละม่อม และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน
ว่าที่ พ.ต.ต.สุริยะ โพธิ์ทองนาค ผู้รับผิดชอบ / เลขาธิการ
เอกสารการฝึกอบรมการจัดการผลกระทบทางลบต่อสังคม (CSR)
และ
การจัดทำแผนพัฒนาองค์กร
ซีเอสอาร์คืออะไร
ซี เอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
หากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร ส่วนคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติ หรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่ อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มต่างๆ
ลำดับชั้นของผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับซีเอสอาร์
คำ ว่า กิจกรรม ในความหมายข้างต้น หมายรวมถึง การคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินงานขององค์กร
สังคม ในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะมุ่งไปที่ผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล
- สังคม ใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ
- สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น
ใน ระดับของลูกค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่า ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง มีการให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน ความรอบคอบระมัดระวังในการผสานประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า เป็นต้น
ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น
ใน ระดับของประชาสังคม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคม โดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น
ใน ระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้สินบนในทุกรูปแบบ เป็นต้น
ความสำคัญของซีเอสอาร์
การเจริญเติบโต (Growth) ของธุรกิจหนึ่งๆ มาจากการพัฒนาองค์กรให้มีความ “เก่ง” อยู่ในตัว ในขณะที่การพัฒนาองค์กรให้มีความ “ดี” อยู่ในตัว จะก่อให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability) ของธุรกิจนั้นๆ
แนว คิดและทฤษฎีทางธุรกิจที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่องค์กรโดยส่วนใหญ่ ล้วนมุ่งไปที่การพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” ตัวอย่างทฤษฎีที่รู้จักกันดี ได้แก่ SWOT Analysis (Ansoff 1965) สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการสร้างความสำเร็จขององค์กร หรือ Boston Matrix (BCG 1970) สำหรับการกำหนดความสำคัญและการสร้างความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ หรือ Five Forces (Porter 1980) และ Diamond Model (Porter 1990) สำหรับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น
สำหรับแนวคิดใน เรื่องซีเอสอาร์ จะมุ่งไปที่การสร้างให้องค์กรมีความ “ดี” ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรมทางศาสนา ซีเอสอาร์จึงมิใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เพิ่งได้มีการบัญญัติคำนี้ขึ้นใช้ในวงการธุรกิจเมื่อไม่กี่สิบปีที่ ผ่านมานี้เอง
สำหรับในประเทศไทย แนวคิดเรื่องซีเอสอาร์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาธุรกิจในสังคมไทยมา เป็นเวลายาวนาน ในรูปของการทำบุญ การบริจาคเพื่อการกุศล หรือการอาสาช่วยเหลืองานส่วนรวมที่เรียกว่า “การลงแขก” เป็นต้น เพียงแต่คนไทยยังมิได้เรียกกิจกรรมเหล่านี้ด้วยคำว่าซีเอสอาร์
อย่างไรก็ดี กระแสซีเอสอาร์ในเมืองไทย ก็ได้ถูกจุดประกายขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2549 และได้ถูกบรรจุเป็นแนวปฏิบัติที่ผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือไปจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบที่อยู่นอกกระบวนการ ทางธุรกิจ เช่น การบริจาค หรือการอาสาช่วยเหลือสังคมเช่นที่ผ่านมา
จำพวกของซีเอสอาร์
การ ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ มิได้จำกัดว่ากิจการที่กล่าวถึงจะต้องเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่อยู่ในภาค ธุรกิจเท่านั้น ในอดีตที่ผ่านมา ภาครัฐเองก็ได้เคยตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ซึ่งทำให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องพัฒนาการปฏิบัติราชการโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อให้ เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
ดังนั้น ต้องถือว่าส่วนราชการต่างๆ ก็ดี มีพันธกิจหลักในการบริหารกิจการบ้านเมืองด้วยความรับผิดชอบเป็นที่ตั้งอยู่ แล้ว ทั้งยังเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการสาธารณะแก่ ประชาชนโดยไม่แสวงหาผลกำไร ซีเอสอาร์ในภาครัฐจึงมิใช่เรื่องใหม่หรือหลักการบริหารบ้านเมืองแนวใหม่แต่ ประการใด แต่เป็นเรื่องที่ข้าราชการทุกคนต้องตระหนักและสำนึกได้เองว่าตนเองมีบทบาท และความรับผิดชอบต่อสังคมในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา
ฉะนั้น เรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility: SR) สำหรับหน่วยงานของรัฐ จึงถือเป็นบทบาทขั้นพื้นฐานที่พึงมีนับตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งหน่วยงาน หน่วยงานของรัฐถือเป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในงานดังกล่าว อีกทั้งสมควรที่จะดำรงบทบาทเป็นเจ้าภาพงานให้แก่ภาคอื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานอีกด้วย
เมื่อพิจารณาซีเอสอาร์ตาม บทบาทและความเกี่ยวข้องของหน่วยงาน จะสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 จำพวก (division) โดยจำพวกแรกเป็น CSR-after-process ที่มักใช้คำในภาษาไทยว่า "กิจกรรมเพื่อสังคม" คือ การดำเนินกิจกรรม (activities) ของหน่วยงาน ซึ่งโดยมากเป็นองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไร เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ โดยกิจกรรมที่ดำเนินการนั้นมักแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นกระบวน การ (process) หลักของกิจการและเกิดขึ้นภายหลัง เช่น การแก้ไขเยียวยาชุมชนที่ได้รับผลกระทบทางมลพิษจากการประกอบการ การแจกจ่ายสิ่งของช่วยบรรเทาสาธารณภัย การเป็นอาสาสมัครช่วยบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ซึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมเหล่านี้มักเป็นกิจกรรมที่อยู่นอกเหนือเวลาทำงานตาม ปกติ
จำพวกที่สองเป็น CSR-in-process ซึ่งปัจจุบันมักเรียกกันว่า "ธุรกิจเพื่อสังคม" คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ หรือเป็นการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การป้องกันหรือกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในฉลากผลิตภัณฑ์ การเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องครบถ้วนต่อผู้บริโภค การชดเชยความเสียหายให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากความผิดพลาดและความบกพร่องของ พนักงาน ซึ่งการดำเนินความรับผิดชอบเหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมที่อยู่ในเวลาทำงานปกติ ของกิจการ
จำพวกที่สามเป็น CSR-as-process ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น "กิจการเพื่อสังคม" เพื่อให้แตกต่างจากสองจำพวกข้างต้นที่เป็นบทบาทขององค์กรธุรกิจโดยตรง กิจการในจำพวกที่สามนี้ มักเป็นองค์กรที่ดำเนินงานโดยไม่แสวงหากำไรให้แก่ตนเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมในทุกกระบวนการของ กิจการ ตัวอย่างของกิจการที่อาจจัดอยู่ในข่ายนี้ ได้แก่ มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรประชาชน และส่วนราชการต่างๆ
อย่างไรก็ดี กิจการเพื่อสังคมในความหมายเต็มของ CSR-as-process นั้น มีข้อแตกต่างจากหน่วยงานที่เรียกตัวเองว่า องค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์หากำไร (non-profit organization) ตรงที่หน่วยงานที่ไม่หากำไร อาจอยู่ในสภาพที่ไม่มีกำไรให้ทั้งแก่ตนเองและแก่สังคม อันเนื่องมาจากการขาดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
แต่สถานะของกิจการเพื่อสังคมนั้น เกิดจากการผสมผสานอุดมการณ์ในแบบนักพัฒนาสังคมเข้ากับการบริหารจัดการในแบบผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการผนวกจุดแข็งระหว่างแผนงานของภาคประชาสังคมกับกระบวนการที่มีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ในอันที่จะสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมโดยรวม
ขณะ เดียวกันกิจการก็สามารถอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการดำเนินงานของตนเอง แทนการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกหรือได้รับการอุดหนุนจากภาษีของประชาชน เรียกว่า เป็นองค์กรที่หากำไรให้แก่สังคม (social profit organization) โดยที่เจ้าของกิจการเหล่านี้ มักเรียกตัวเองว่า เป็นผู้ประกอบการทางสังคม (social entrepreneur)
การ ที่องค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์หากำไรในรูปแบบเดิม อาศัยทุนสนับสนุนจากการบริจาคก็ดี หรืออาศัยทุนอุดหนุนจากเม็ดเงินภาษีก็ดี ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรจากสังคมทางหนึ่ง ซึ่งหากดำเนินงานโดยขาดประสิทธิภาพหรือขาดความรับผิดชอบแล้ว ยิ่งต้องได้รับการตำหนิมากกว่าองค์กรที่หากำไรให้แก่ตนเองเป็นเท่าตัว เพราะนอกจากจะเป็นการถือครองทรัพยากรทางสังคมโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ สังคมแล้ว ยังเท่ากับเป็นการปิดโอกาสองค์กรที่ไม่หากำไรแห่งอื่นๆ ในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรเหล่านี้เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคมด้วย ถือเป็นค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ที่คนในสังคมต้องร่วมกันจ่ายโดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกลับคืนมาเลย
ระดับชั้นของซีเอสอาร์
องค์กร ธุรกิจหลายแห่งในปัจจุบัน ได้นำเรื่องซีเอสอาร์มาเป็นประเด็นสื่อสารทางการตลาด บางองค์กรขยายผลเพื่อใช้ซีเอสอาร์เป็นรูปแบบในการกีดกันการแข่งขันการค้า จนทำให้ซีเอสอาร์กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้สนองประโยชน์ทางธุรกิจ แทนที่จะใช้เพื่อเจตนารมณ์ของการมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ของกิจการในทุกวันนี้ จึงมีทั้งที่เกิดขึ้นโดยความเต็มใจและเกิดขึ้นจากความจำเป็นทางธุรกิจ
การ ดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจที่ประกอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อ สังคม ก็ยังมีข้อถกเถียงเพิ่มเติมอีกว่า ควรเป็นการดำเนินตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ที่ไม่สร้างให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมก็เพียงพอแล้ว หรือว่าต้องเกิดขึ้นจากการอาสาหรือสมัครใจยินดีในการดำเนินกิจกรรมดูแลรับ ผิดชอบสังคม ซึ่งอยู่เหนือการปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามกฎหมายเท่านั้น
การ ดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ไม่ว่าจะเกิดจากการปฏิบัติตามความจำเป็นหรือตามความ สมัครใจ ถือเป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งสองกรณี แตกต่างกันที่ระดับความเข้มข้นของการดำเนินกิจกรรมและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมนั้นๆ
กิจกรรมซีเอสอาร์ที่เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ หรือตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย จัดอยู่ในชั้น (class) ของ ซีเอสอาร์ระดับพื้นฐาน ขณะที่ กิจกรรมซีเอสอาร์ที่เกิดจากการอาสาหรือสมัครใจยินดีในการดำเนินกิจกรรมซีเอส อาร์นั้นด้วยตัวเอง มิใช่เกิดจากความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามกฎหมาย จัดอยู่ในชั้นของ ซีเอสอาร์ระดับก้าวหน้า
กิจกรรมซีเอสอาร์ ยังสามารถแบ่งออกตามทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม หากเป็นการดำเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็นหลัก จะจัดอยู่ในตระกูล (order) ที่เป็น Corporate-driven CSR เช่น การที่องค์กรบริจาคเงินที่ได้จากกำไรในกิจการ หรือบริจาคสินค้าและบริการของบริษัทเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ถือเป็นการเสียสละทรัพยากรที่เป็นสิ่งของหรือเป็นการลงเงินอย่างหนึ่ง หรือการที่องค์กรนำพนักงานลงพื้นที่เพื่อเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย ถือเป็นการเสียสละทรัพยากรด้านเวลา หรือเป็นการลงแรงอย่างหนึ่ง
หากเป็นการดำเนินกิจกรรมโดยใช้ทรัพยากรนอกองค์กรเป็นหลัก จะจัดอยู่ในตระกูลที่เป็น Social-driven CSR เช่น การเชิญชวนให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการของบริษัทในช่วงเวลาการรณรงค์โดย บริจาครายได้จากการขายสินค้าและบริการส่วนหนึ่งต่อทุกๆ การซื้อแต่ละครั้ง ให้แก่หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ถือเป็นการระดมเงินบริจาคจากการซื้อของลูกค้า และมอบหมายให้ผู้อื่นที่มิใช่พนักงานในองค์กร ลงแรงช่วยเหลือในพื้นที่
ชนิดของกิจกรรมซีเอสอาร์
ศ. ฟิลิป คอตเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น และแนนซี่ ลี อาจารย์สมทบแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และมหาวิทยาลัยซีแอตเติ้ล ได้จำแนกซีเอสอาร์ไว้เป็น 6 ชนิด (type) กิจกรรม* ได้แก่
1. การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม (Cause Promotion) เป็นการจัดหาเงินทุน วัสดุสิ่งของ หรือทรัพยากรอื่นขององค์กร เพื่อขยายการรับรู้และความห่วงใยต่อประเด็นปัญหาทางสังคมนั้น ตลอดจนสนับสนุนการระดมทุน การมีส่วนร่วม หรือการเฟ้นหาอาสาสมัครเพื่อการดังกล่าว องค์กรธุรกิจอาจริเริ่มและบริหารงานส่งเสริมนั้นด้วยตนเอง หรือร่วมมือกับองค์กรหนึ่งองค์กรใด หรือกับหลายๆ องค์กรก็ได้
2. การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม (Cause-Related Marketing) เป็นการอุดหนุนหรือการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการขายผลิตภัณฑ์เพื่อช่วย เหลือหรือร่วมแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคมจำเพาะหนึ่งๆ ซึ่งมักมีช่วงเวลาที่จำกัดแน่นอน หรือดำเนินการแบบจำเพาะผลิตภัณฑ์ หรือให้แก่การกุศลที่ระบุไว้เท่านั้น กิจกรรมซีเอสอาร์ชนิดนี้ องค์กรธุรกิจมักร่วมมือกับองค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์หากำไรเพื่อสร้าง สัมพันธภาพในประโยชน์ร่วมกัน ด้วยวิธีการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ เพื่อนำเงินรายได้ไปสนับสนุนกิจกรรมการกุศลนั้นๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วย เหลือการกุศลผ่านทางการซื้อผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นใดเพิ่มเติม
3. การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) เป็นการสนับสนุนการพัฒนาหรือการทำให้เกิดผลจากการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมในด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านสุขภาวะ ความแตกต่างสำคัญระหว่างการตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมกับการส่งเสริมการ รับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม คือ การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมจะเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior Change) เป็นหลัก ในขณะที่การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมจะเน้นที่การสร้างความตระหนัก (Awareness) ตลอดจนการสนับสนุนทรัพยากรด้านทุนและอาสาสมัครเพื่อให้รับรู้ถึงประเด็นปัญหาดังกล่าว
4. การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) เป็นการช่วยเหลือไปที่ประเด็นปัญหาทางสังคมโดยตรง ในรูปของการบริจาคเงินหรือวัตถุสิ่งของ เป็นกิจกรรมซีเอสอาร์ที่พบเห็นในแทบทุกองค์กรธุรกิจ และโดยมากมักจะเป็นไปตามกระแสความต้องการจากภายนอกหรือมีผู้เสนอให้ทำ มากกว่าจะเกิดจากการวางแผนหรือออกแบบกิจกรรมจากภายในองค์กรเอง ทำให้ไม่เกิดการเชื่อมโยงเข้ากับเป้าหมายหรือพันธกิจขององค์กรเท่าใดนัก
5. การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) เป็นการสนับสนุนหรือจูงใจให้พนักงาน คู่ค้าร่วมสละเวลาและแรงงานในการทำงานให้แก่ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และเพื่อ ตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางสังคมที่องค์กรให้ความสนใจหรือห่วงใย องค์กรธุรกิจอาจเป็นผู้ดำเนินการเองโดยลำพัง หรือร่วมมือกับองค์กรหนึ่งองค์กรใด และอาจเป็นผู้กำหนดกิจกรรมอาสาดังกล่าวนั้นเอง หรือให้พนักงานเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมแล้วนำเสนอต่อองค์กรเพื่อพิจารณาให้ การสนับสนุน โดยที่พนักงานสามารถได้รับการชดเชยในรูปของวันหยุดหรือวันลาเพิ่มเติม
6. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างพินิจพิเคราะห์ทั้งในเชิงป้องกันด้วยการ หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หรือในเชิงร่วมกันแก้ไขด้วยการช่วยเหลือเยียวยาปัญหาทางสังคมนั้นๆ ด้วยกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อการยกระดับสุขภาวะของชุมชนและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการเอง หรือเลือกที่จะร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกก็ได้
การจำแนกกิจกรรมซีเอส อาร์ข้างต้น หากพิจารณาตามตระกูล (order) ของซีเอสอาร์จะพบว่ากิจกรรม 3 ชนิดแรก เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการพูด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการสื่อสารการตลาดที่เข้าข่ายการดำเนินกิจกรรม โดยใช้ทรัพยากรนอกองค์กรเป็นหลัก (Social-driven CSR) ส่วนกิจกรรม 3 ชนิดหลัง เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการกระทำ หรือเป็นการดำเนินกิจกรรมขององค์กรโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในองค์กรเป็น หลัก (Corporate-driven CSR)
และหากพิจารณาโดยยึดที่ตัวกระบวนการทาง ธุรกิจ (business process) ซีเอสอาร์ในตระกูล Corporate-driven CSR ยังสามารถจำแนกออกเป็นซีเอสอาร์จำพวก (division) ที่อยู่ในกระบวนการทางธุรกิจ (CSR in process) กับซีเอสอาร์จำพวกที่อยู่นอกกระบวนการทางธุรกิจ หรือเกิดขึ้นภายหลังโดยแยกต่างหากจากกระบวนการทางธุรกิจ (CSR after process)
การพัฒนาซีเอสอาร์ในองค์กร
กิจกรรม ซีเอสอาร์ มิได้สิ้นสุดที่การบริจาคเงินหรือบริจาคสิ่งของให้แก่หน่วยงานสังคม สงเคราะห์หรือมูลนิธิไปดำเนินการ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่องค์กรที่ “ดี”
องค์กรที่ สามารถบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อการสังคมสงเคราะห์ได้นั้น แสดงว่าเป็นองค์กรที่เจริญเติบโตในธุรกิจและมีความ “เก่ง” อยู่ในตัวแล้ว ประเด็นที่สำคัญ คือ ทำอย่างไรจึงจะใช้ความ “เก่ง” ในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ หรือถ่ายทอดความ “เก่ง” นั้นให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ที่แต่เดิมได้รับเป็นเงินหรือสิ่งของ
กิจกรรม ซีเอสอาร์ที่เกี่ยวข้องกับการให้เงินหรือสิ่งของ อาจมิใช่การแก้ปัญหาระยะยาวให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม แต่การพัฒนาทักษะและศักยภาพให้แก่พวกเขาเหล่านั้นต่างหากที่น่าจะเป็นคำตอบ และการพัฒนาในเรื่องดังกล่าว ก็สามารถใช้ความ “เก่ง” ที่มีอยู่ในธุรกิจให้เกิดประโยชน์ได้
กิจกรรมทางซีเอสอาร์ ประกอบทั้ง การคิด การพูด และการกระทำ และเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตขององค์กรที่ได้ผ่านวัยเด็ก วัยรุ่น และเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะช่วยเหลือและมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อาศัยอยู่ วิธีการพัฒนาซีเอสอาร์ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ จึงควรผนวกช่วงแห่งการเจริญเติบโตเข้ากับองค์ประกอบของซีเอสอาร์ นั่นคือ “คิดแบบเด็ก ทำแบบวัยรุ่น และพูดแบบผู้ใหญ่”
การออกแบบและพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์ เป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และความจริงใจ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในวัยเด็ก
การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ จำเป็นที่องค์กรควรเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้หรือถ่ายทอดความ “เก่ง” ด้วยความมุ่งมั่นและพละกำลัง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในวัยรุ่น
การติดตามและประเมินผลกิจกรรมซีเอสอาร์ เพื่อนำไปสู่การสื่อสารทั้งกับคนในองค์กรและสังคมภายนอก เป็นบทบาทที่ต้องอาศัยความรอบคอบระมัดระวัง และเป็นบทบาทของผู้ใหญ่ ในการถ่ายทอดข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ และมีผลลัพธ์เชิงบวกกลับมาสู่องค์กรในที่สุด
เงื่อนไขสำคัญในการ พัฒนาซีเอสอาร์ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในสังคมไปพร้อมๆ กัน คือ การเชื่อมร้อยกิจกรรมทางธุรกิจให้มีส่วนประสมของความรับผิดชอบทางสังคมอย่าง เป็นเนื้อเดียวกัน
สถาบันไทยพัฒน์ จะทำหน้าที่ในการการออกแบบและพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์ คัดเลือกหน่วยงานร่วมดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ให้แก่องค์กร ติดตามและประเมินผลกิจกรรมซีเอสอาร์ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจสำเร็จประโยชน์เต็มตาม ทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรมนั้นๆ
Responsive CSR
รูป แบบของ CSR ในขั้นแรก ตามที่ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ได้ระบุไว้ในบทความเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่าง CSR กับความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Porter and Kramer, 2006) คือ Responsive CSR ซึ่งประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การปฏิบัติตัวเป็นบรรษัทพลเมืองที่ดี (Good Corporate Citizen) และการบรรเทาผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมทาง ธุรกิจของตน โดยอาจจะยังไม่ได้ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมอะไรต่อมิอะไรเพิ่ม เติม ซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นการทำ CSR ในเชิงรับ (Receptive)
กิจกรรม CSR ภายใต้รูปแบบนี้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีปัญหาหรือผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจไปสู่สังคม หรือสังคมมีการเรียกร้องให้กิจการดำเนินความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมต่อผล กระทบเหล่านั้น เป็นการผลักดันให้มีการริเริ่มดำเนินงาน CSR จากผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ภายนอกองค์กร (Outside-In)
ส่วนวิธีการ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในขั้นนี้ กิจการมักจะศึกษาข้อกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาปฏิบัติเพื่อปรับให้เข้ามาตรฐาน (Standardization) อันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ผลลัพธ์จากการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยวิธีการนี้ จะทำให้กิจการได้ชื่อว่าเป็นบรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบในการแก้ไข ปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน และได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคมนั้นๆ (Inclusiveness)
อย่าง ไรก็ดี เป้าประสงค์ของการทำ CSR ในขั้นนี้ แม้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรม CSR จะเป็นบุคคลที่อยู่ภายนอกองค์กร แต่กิจการยังคงมุ่งรักษาไว้ซึ่งคุณค่าขององค์กร (Corporate Value) เป็นสำคัญ
Strategic CSR
พอร์เตอร์ ได้เสนอรูปแบบของ CSR ที่เรียกว่า Strategic CSR ซึ่งยกระดับจากการเป็นเพียงบรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อการบรรเทา ปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดจากกิจการ สู่การทำ CSR ในเชิงรุก (Proactive) ที่องค์กรสามารถริเริ่มกิจกรรม CSR ด้วยตัวเองให้แก่สังคมภายนอก (Inside-Out) ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับความต้องการหรือการริเริ่มจากภายนอก (Outside-In)
Corporate Invlovement in Society: A Strategic Approach (Porter and Kramer, 2006)
วิธี การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็น CSR เชิงกลยุทธ์นี้ กิจการไม่เพียงแต่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่ยังมีการกำหนดจุดยืนที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากแนวปฏิบัติขององค์กร อื่นๆ มีการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ในวิธีการ มีอิสรภาพในการคัดเลือกประเด็นทางสังคม โดยที่ปลอดจากพันธนาการหรือข้อเรียกร้องเช่นใน Responsive CSR
ด้วยวิธีการที่แตกต่างและกิจกรรม CSR ที่เหมาะสม ผลลัพธ์จากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็น CSR เชิงกลยุทธ์นี้ จะทำให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitiveness) ขององค์กรในระยะยาว
เป้าประสงค์ของ CSR เชิงกลยุทธ์ ที่ผสมผสานการริเริ่มทั้งจากภายในและการเชื่อมโยงจากภายนอกจะก่อให้เกิดคุณค่าร่วมกัน (Shared Value) ระหว่างธุรกิจและสังคม
CSR เชิงกลยุทธ์ ดูจะเป็นคำตอบของธุรกิจที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในวันนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
Creative CSR
ทำไมถึงต้องเป็น Creative CSR? แล้วหน้าตาของ Creative CSR เป็นอย่างไร?
คำถามเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทั้งจากผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่เห็นแย้งอยู่ในใจก็ได้
เรื่อง CSR ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้ จะว่าไปแล้วก็มิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ รูปแบบและวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการได้มีการพัฒนาในจังหวะ ย่างก้าวที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมเรื่อยมา
ทั้งนี้ กระบวนการคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรม CSR เชิงกลยุทธ์ หรือการคิด CSR เชิง “ยุทธศาสตร์” นั้น ส่วนใหญ่จะใช้พลังจากสมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์หาเหตุผล คำนวณความคุ้มค่า ต้นทุน ประสิทธิภาพ ฯลฯ
ขณะที่ CSR เชิงสร้างสรรค์นั้น จะถูกปลดปล่อยออกมาจากสมองซีกขวา เป็นการคิด CSR ในเชิง “ยุทธศิลป์” ที่ต้องอาศัยไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความรู้สึกเป็นสำคัญ
Creative CSR เป็นการทำ CSR ที่ก้าวข้ามบริบทของการรุก-รับ แต่เป็นการพัฒนากิจกรรม CSR ในเชิงร่วม (Collaborative) ที่เปิดโอกาสให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมอย่างไม่แบ่งแยก
กิจกรรม CSR ภายใต้รูปแบบนี้ จะไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ริเริ่มก่อนหลัง เนื่องจากเส้นแบ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างกิจการและสังคมจะเลือนรางลง
สำหรับ วิธีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบ Creative CSR จะมิได้จำกัดเพียงการสร้างความแตกต่างในวิธีการที่มีอยู่ แต่เป็นการคิดค้นวิธีการขึ้นใหม่ เป็นนวัตกรรม (Innovation) การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากวิธีการอื่นโดย อัตโนมัติ
Responsive CSR |
Strategic CSR |
Creative CSR |
Corporate Value |
Shared Value |
Common Value |
Inclusiveness |
Competitiveness |
Cohesiveness |
Standardization |
Differentiation |
Innovation |
Outside-In |
Outside-In, Inside-Out |
Blur |
Receptive |
Proactive |
Collaborative |
ผลลัพธ์ จากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็น CSR เชิงสร้างสรรค์นี้ จะทำให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น (Cohesiveness) ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ในอันที่จะก่อให้เกิดคุณค่าเดียวกัน (Common Value) ของทั้งกิจการและสังคม
เคลื่อนขบวน CSR ทางไหนดี
การ ประเมินสถานการณ์ซีเอสอาร์ของไทยให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนั้น คงไม่สามารถหยิบเพียงส่วนของภาพที่ปรากฏ หรือเลือกเฉพาะส่วนที่เห็นหรือที่รู้สึกมานำเสนอ เนื่องจากการวิเคราะห์แบบแยกส่วนนั้น แม้ข้อเท็จจริงในส่วนนั้นๆ จะถูกต้อง แต่สถานการณ์จริงอาจไม่เป็นไปตามผลการวิเคราะห์นั้นก็ได้ อย่างเช่น การเห็นข้อมูลตัวเลขการส่งออกยังเติบโตดีอยู่ ก็สรุปเอาว่าเศรษฐกิจโดยรวมก็น่าจะดีตามไปด้วย แต่ในสถานการณ์จริงเศรษฐกิจโดยรวมไม่ได้ดีขึ้น เพราะเหตุจากปัจจัยหลักส่วนอื่นที่ส่งผล ไม่ใช่เรื่องการส่งออก เป็นต้น
ในแวดวงซีเอสอาร์ของไทย แม้องค์กรธุรกิจจำนวนหนึ่งจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องซีเอสอาร์ใน ระดับที่ดีพอจนสามารถทำได้อย่างเห็นผลนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การขับเคลื่อนเรื่องซีเอสอาร์จะต้องมุ่งเน้นที่การเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจเรื่องซีเอสอาร์เป็นหลัก เพราะในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่ง ก็ยัง มีองค์กรธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งที่พัฒนาจนสามารถปฏิบัติเรื่องซีเอสอาร์ได้ อย่างล้ำหน้าเลยขั้นของการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจไปแล้ว
กรณี ที่ถูกมองว่าซีเอสอาร์เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่เฉพาะในวงของบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทที่เป็นเอสเอ็มอีไม่ค่อยรู้เรื่องหรือไม่สามารถทำได้ แม้จะรู้สึกได้ว่าเป็นเช่นนั้น แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ยังมีบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กอีกหลายแห่งที่ทำเรื่องซีเอสอาร์มาอย่างยาว นาน เพียงแต่ไม่ได้ใช้คำว่าซีเอสอาร์ หรือไม่ได้สื่อสารกับคนภายนอกให้เป็นที่รับรู้ ฉะนั้น การที่สังคมภายนอกไม่รู้ ไม่ได้หมายความว่า องค์กรเหล่านี้ไม่ได้ทำเรื่องซีเอสอาร์
กรณี ที่สังคมเข้าใจว่าองค์กรธุรกิจทำซีเอสอาร์ไปเพื่อกลบเกลื่อนความไม่ดีของตน เอง ที่ไปสร้างความเสียหายให้แก่สังคม จึงต้องใช้การสร้างภาพลักษณ์ด้วยการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อลดกระแสต่อ ต้านจากสังคม องค์กรธุรกิจจำพวกที่ว่านี้ก็มีอยู่จริง จนมีคำเรียกกิจกรรมดังกล่าวนี้ว่าเป็นซีเอสอาร์เทียม ด้วยเหตุที่กิจการเหล่านี้เอาแต่คำนึงถึงประโยชน์ของตัวแต่ฝ่ายเดียว ไม่ได้ห่วงใยในผลกระทบที่มีต่อสังคมซึ่งเกิดจากกระบวนการทางธุรกิจของตน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่ายังมีองค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อยัง ประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างจริงจัง โดยที่มิได้คาดหวังผลตอบแทนทางธุรกิจใดๆ กิจกรรมที่เกิดจากองค์กรธุรกิจในกลุ่มนี้เอง จึงได้ถูกเรียกขานว่าเป็นซีเอสอาร์แท้
ด้วยเหตุนี้ การประเมินสถานการณ์เพื่อวางแผนในการขับเคลื่อนเรื่องซีเอสอาร์นั้น จึงต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน มิฉะนั้นแล้ว อาจจะทำให้เกิดช่องว่างหรือเกิดความล่าช้าในการพัฒนา ทั้งนี้ หนทางการขับเคลื่อนเรื่องซีเอสอาร์นั้น ควรต้องมองเป็น “ขบวน” ซึ่งมีระดับขั้นของพัฒนาการที่แตกต่างกัน
เริ่มจากหัวขบวนที่ เป็นกลุ่มองค์กรธุรกิจผู้นำการพัฒนาและดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ได้อย่างก้าว หน้า และกำลังแสวงหานวัตกรรมในการทำซีเอสอาร์ที่สูงขึ้นไปหรือที่แตกต่างออกไปจาก ผู้ที่กำลังตามมา ในกลุ่มที่เป็นหัวขบวนนี้ จะ ต้องส่งเสริมให้มีเครื่องมือการออกแบบ มีวิธีการวัด วิธีการกำกับติดตาม หรือวิธีการรายงานผลที่สามารถตอบสนองการคิดค้นและพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์ทั้ง ในและนอกกระบวนการธุรกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมยิ่งๆ ขึ้นไป
ในส่วนของท้ายขบวน จะเป็นกลุ่มองค์กรธุรกิจที่สนใจและกำลังศึกษาทำความรู้ความเข้าใจเรื่องซี เอสอาร์ เพื่อจะนำไปปฏิบัติในองค์กร ซึ่งก็มีทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกัน ในกลุ่มนี้ จะ ต้องให้หลักการ แนวทาง หรือคู่มือในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์อย่างถูกต้องและอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อจะได้สามารถริเริ่มพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์แท้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ สังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดเป็นภูมิคุ้มกันทางธุรกิจ ไม่หลงไปกับการพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์เทียมเพียงเพื่อหวังภาพลักษณ์ทางธุรกิจ
ขณะที่ในท่อนกลางของขบวน จะเป็นกลุ่มองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ควบคู่ไปกับการ ดำเนินธุรกิจ มีการลองผิดลองถูก ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง โดยยังขาดทิศทางที่แน่ชัดว่า กิจกรรมซีเอสอาร์หลักๆ ที่องค์กรควรทำคืออะไร และที่ไม่ควรทำคืออะไร องค์กรธุรกิจในกลุ่มนี้ จะต้องสร้างศักยภาพให้เขาสามารถวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน สามารถจัดทำแผนที่กลยุทธ์ด้านซีเอสอาร์ เสมือนเป็นแผนที่นำทางขององค์กรในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เมื่อ พิจารณาการพัฒนาซีเอสอาร์ในลักษณะที่เป็นขบวนเช่นนี้ ก็จะทำให้สามารถกำหนดรูปธรรมของการขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายใน แต่ละส่วนของขบวนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินไปพร้อมกันได้ทั้ง ขบวน โดยไม่ตกหล่นในส่วนใดส่วนหนึ่งไป
เนื่องจากพัฒนาการของซีเอส อาร์ในปัจจุบันมีพลวัตสูง ทำให้การขับเคลื่อนจึงต้องมีความยืดหยุ่นและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ครั้งหนึ่ง ความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกิดขึ้นตามหน้าที่หรือตามที่กฎหมายกำหนด มิได้อยู่นอกเหนือจากที่มีอยู่ในข้อกำหนด ระเบียบ หรือมาตรฐาน และมิใช่การกระทำที่เกิดจากความสมัครใจ ไม่ถือกันว่าเป็นซีเอสอาร์ แต่ในปัจจุบันกลับนิยามว่าเป็นซีเอสอาร์แบบหนึ่ง
สำหรับ สถานการณ์ซีเอสอาร์ของไทยในปี 2551 นี้ กระแสเรื่องซีเอสอาร์ที่เกิดขึ้น ยังจะส่งผลให้บริษัทต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก กระโดดเข้าร่วมขบวนเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ไม่น้อยไปกว่าปี 2550 ขณะที่กลุ่มองค์กรธุรกิจที่ได้เริ่มกิจกรรมซีเอสอาร์อย่างจริงจังในปีที่ ผ่านมา ก็จะเห็นทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น มีกลยุทธ์มากขึ้น รวมทั้งจะได้เห็นซีเอสอาร์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่ใช้นวัตกรรมเข้ามาผสมผสานกับกิจกรรมซีเอสอาร์ได้อย่างน่าสนใจ โดยยังคงไว้ซึ่งคุณค่าในการดำเนินงาน ภายใต้งบประมาณที่ปรับตามสภาวะเศรษฐกิจในปี 2551 นี้
แนวทางการให้บริการทางหน่วยงาน
ทั้งที่เป็นผลกระทบทางบวกและผลกระทบทางลบ (เฉพาะกระบวนงานหรือ Process)
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 : ระดับความสำเร็จของการวางแผนปรับปรุงองค์กรสู่การจัดการผลกระทบทางลบต่อองค์กรและสังคม
คณะทำงาน
1. ว่าที่ พ.ต.ต.สุริยะ โพธิ์ทองนาค สว.กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน / ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด
2. ด.ต.บุญเยี่ยม ศรีวิเศษ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
3. ด.ต.เกียรติ มูลมาตย์ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
จัดระบบงานธุรการให้เป็นระบบ รวดเร็ว มีระบบสืบหาข้อมูล
- อบรมพัฒนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน ภารกิจ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ โดยพิจารณาตาม พ.ร.บ.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ฯ และข่าวที่ไม่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาชนส่วนใหญ่ หรือข่าวที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด
- เปิดช่องทางรับข้อมูลการแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางอีเมลล์ ทางจดหมาย หรือทางโทรศัพท์ ฯ
- รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ตรวจสอบ รายงานผล(ทั้ง ผู้บังคับบัญชา และประชาชนทราบ) และจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
- งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
- การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ถวายความปลอดภัย
- ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์
- ประชาชนที่ใช้รถหลงเข้ามาในเส้นทางเสด็จหรือกำลังจะออกมาเทียบขบวนเสด็จ
- ใช้ยุทธวิธีการสกัดกั้น โดยคำนึงถึง
- ความปลอดภัยของรถพระที่นั่งและรถในขบวนเสด็จ
- ความปลอดภัยประชาชนที่หลงเข้ามาในเส้นทางเสด็จ
- การใช้สัญญาณแจ้งเตือน สัญญาณเสียง ไมโครโฟน และท่าทางโดยความละมุนละม่อม แต่การปฏิบัติเป็นไปโดยปลอดภัย
- ระหว่างการปฏิบัติพระราชกรณียกิจณที่หมาย
- การประชาสัมพันธ์การนั่ง การห้ามถ่ายรูป การแต่งกาย การอยู่ในที่จัดไว้สำหรับการรับเสด็จ การเดินตัดขบวน ฯ
- ใช้วาจาที่สุภาพ และ เป็นที่เข้าใจของประชาชน
- งานเจรจาต่อรอง
- การใช้หลักการเจรจาตามขั้นตอน
- การใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อประชาชนทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ออกจากที่เกิดเหตุ ในพื้นที่ที่จำกัดไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
- การปฏิบัติต่อคนร้าย ตัวประกัน กลุ่มชุมนุมประท้วง หรือแกนนำ เป็นไปด้วยความละมุนละม่อม และมีความความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ของคนร้าย
- การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าทีต่างหน่วย หรือองค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ ต่าง ๆ เป็นไปด้วยดี สร้างบรรยากาศการร่วมงานที่ดี
- การปฏิบัติทั้งขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ใช้หลักจิตวิทยา และการทำงานที่เป็นขั้นตอนตามหลักการเจรจาต่อรอง
- งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ
- ระหว่างการเข้าพื้นที่เกิดเหตุ
- การใช้เส้นทางโดยความเร่งด่วน มีการใช้สัญญาณไฟวับวาบ สัญญาณเสียงเตือน และไมโครโฟน แจ้งขอทาง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย คำพูด และวิธีการปฏิบัติที่ละมุนละม่อม
- ระหว่างการเข้าปฏิบัติการ เมื่อพบประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ให้ออกจากที่เกิดเหตุ
- การวางแผนและการเข้าปฏิบัติการนอกจากคำนึงถึงถึงความปลอดภัยของตัวประกันแล้วให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนใกล้ที่เกิดเหตุ เช่น วิถีกระสุน ขนาดกระสุนที่ใช้ยิง อาวุธที่ใช้
- การปฏิบัติต่อตัวประกัน คนร้าย เป็นไปตามยุทธวิธี
- การฟื้นฟูที่เกิดเหตุเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ
- งานควบคุมฝูงชน
- การวางแผนการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนที่ดี
- จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) โดยแบ่งแยกหน้าที่ให้ชัดเจน ผบ.เหตุการณ์คือใคร เจ้าหน้าที่ชุดเจรจารับฟังข้อเรียกร้องจากตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม
- การประชาสัมพันธ์โดยการประกาศเกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบและที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย
- การประกาศแจ้งเกี่ยวกับขั้นระดับการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนเพื่อให้ทุกฝ่ายทราบและเป็นที่เข้าใจ
- การปฏิบัติการทางจิตวิทยา ไม่กดดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่เกิดความเครียดและสร้างบรรยากาศการชุมประท้วงให้เป็นไปโดยสงบ
- การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การจัดการจราจร การประสานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
- การปฏิบัติขณะมีการชุมนุม และภายหลังมีการชุมนุม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- ทั้งในยามปกติ และ การใช้กำลังในการสลายการชุมนุม
- การฝึกซ้อมกองร้อยควบคุมฝูงชนและประชาสัมพันธ์ให้ตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้รับรู้ถึงการปฏิบัติของกองร้อยควบคุมฝูงชนที่ปฏิบัติตามระดับการใช้กำลังที่เป็นไปตามกฎหมาย
- การฝึกใช้อาวุธ โล่ กระบอง การยิงกระสุนแก๊สน้ำตา ที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
- งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ
- วัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่หน่วย
- จัดทำโครงการหรือแผนการฝึกให้การภาคเอกชนและประชาชน เกี่ยวกับการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น ธนาคาร ร้านค้าทอง ปั๊มน้ำมัน ฯ ประชาชนทั่วไป
- การยิงปืนขั้นพื้นฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน
- ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี และเยาวชน
- การรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ บ้านพัก
- จัดทำโครงการของบประมาณสร้างสนามยิงปืนทางยุทธวิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนทั่วไป
- จัดสถานที่สำหรับการฝึกและประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหน่วย
- งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่
- เป็นการปฏิบัติกฎหมายคุ้มครองพยาน
- การรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญระดับประเทศ ระดับชาติ เพื่อความเชื่อมั่นแก่หน่วยงาน และประเทศ
- การรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายแก่หน่วยงานและที่ประชาชนต้องมาติดต่อใช้บริการ
- เป็นการคุ้มครองพยานสำคัญ ผู้ต้องหาสำคัญ ให้สามารถดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมจนจบ
- ในงานมหกรรมใหญ่ ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาท การทำร้ายชีวิตร่างกาย การประทุษร้ายต่อทรัพย์ ให้อยู่ในการควบคุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- การปฏิบัติต่าง ๆ เป็นไปด้วยความละมุนละม่อม และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน
ว่าที่ พ.ต.ต. ผู้รับผิดชอบ / เลขาธิการ
( สุริยะ โพธิ์ทองนาค )
ด.ต. คณะทำงาน
( บุญเยี่ยม ศรีวิเศษ )
ด.ต. คณะทำงาน
( เกียรติ มูลมาตย์ )
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ กก.ปพ.ศสส.ภ.2
ที่ 0018.23 / วันที่ พฤษภาคม 2552
เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติคณะทำงานตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 ขั้นตอนที่ 1
เรียน รอง ผบก.หน.ศสส.ภ.2 (ผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น)
1. ตามคำสั่ง ศสส.ภ.2 ที่ 6/2552 ลง 4 ก.พ.2552 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 และคำสั่ง กก.ปพ.ที่ 1/2552 ลง 12 ก.พ.2552 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 3.1.22 นี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ จัดทำรายละเอียดแล้วรายงานความก้าวหน้าในรอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน ให้ ศสส.ภ.2 ทราบ นั้น
2. ตามคู่การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ฯ ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 ขั้นตอนที่ 1 ให้ตั้งคณะทำงานศึกษาวิเคราะห์แนวคิดการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและสรุปแนวทางในการให้บริการและความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งที่เป็นผลกระทบทางบวกและการดำเนินการที่เป็นทางลบ ข้อ1.4 การดำเนินงานทั้ง 1.1-1.3 รายงานให้หน่วยเหนือทราบ
3. คณะทำงานตัวชี้วัด ที่ 3.1.22.1 ขอส่งเอกสารตามข้อ 2. ดังที่แนบมาพร้อมหนังสือนี้ด้วยแล้ว จำนวน แผ่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ว่าที่ พ.ต.ต. ผู้รับผิดชอบ
( สุริยะ โพธิ์ทองนาค )
สว.กก.ปพ.ศสส.ภ.2
-ทราบ
-เรียน ผกก.ปพ.ศสส.ภ.2
เพื่อโปรดทราบ
………………………………………………………
พ.ต.ท.
(ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ)
รอง ผกก.กก.ปพ.ศสส.ภ.2
........./........./2552 |
-ทราบ
-เรียน รอง.ผบก.หน.ศสส.ภ.2
เพื่อโปรดทราบ
………………………………………………………
พ.ต.อ.
(นิพนธ์ พานิชเจริญ)
ผกก.กก.ปพ.ศสส.ภ.2
........./........./2552 |
แนวทางการปฏิบัติต่อผลกระทบทางลบ
2 แนวทาง
แนวทางที่ 1
การวางแผนปรับปรุงองค์กรในส่วนที่เป็นโอกาสปรับปรุงของปีงบประมาณ พ.ศ.2551 มาดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ.2552
1. นำกรอบภารกิจอำนาจหน้าที่ในส่วนของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ มาเป็นหลักในการแยกแยะโครงสร้างงานตามหน้างานเพื่อความชัดเจน
2. จัดแบ่งงานแต่ละภารกิจออกและจัดตัวบุคคลอยู่ปฏิบัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจ
3. จัดการฝึกอบรมกำลังพลให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานที่ต้องปฏิบัติอย่างถ่องแท้
4. ผู้บริหารและฝ่ายธุรการอำนวยการ จัดระบบงานธุรการให้มีระบบ และดำเนินการสนับสนุนในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ยานพาหนะ สถานที่ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม รวมทั้งการขอสนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ
5. กำหนดเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงาน
6. จัดวงรอบการปฏิบัติงาน หรือ ขั้นการปฏิบัติงานตามนโยบายและเป้าหมาย
7. การสนับสนุน
8. การควบคุมกำกับดูแล
9. การประเมินวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน ได้ตามเป้าหมายหรือไม่
10. การปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน และปฏิบัติ
11. ประเมินซ้ำและนำไปปรับปรุงการปฏิบัติงาน หรือเพื่อนำไปเป็นกรศึกษาเพื่อถ่ายทอดให้กับหน่วยข้างเคียง
12. ประชาสัมพันธ์
แนวทางที่ 2
การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรโดยใช้เทคนิค CSR
ส่วนที่ 1 จัดลำดับความสำคัญในการวางแผนปรับปรุงองค์กรเพื่อจัดการผลกระทบทางลบ
(ตามแนวทางที่ 1) 1.1 จัดลำดับความสำคัญของแผนปรับปรุงหรือพัฒนาองค์กร
1.2 เสนอแผนปรับปรุง
1.3 วางแผนดำเนินการปรับปรุงพัฒนา
ส่วนที่ 2 จัดทำ CSR Straegy เพื่อสร้างการยอมรับ
(ตามแนวทางที่ 1)
ว่าที่ พ.ต.ต. ผู้รับผิดชอบ / เลขาธิการ
( สุริยะ โพธิ์ทองนาค )

รายงานการประเมินผลตนเองตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (รายตัวชี้วัด) |
R รอบ 6 เดือน
q รอบ 9 เดือน |
q รอบ 12 เดือน |
ชื่อตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดที่ 3.1.22 ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการองค์กรสู่มาตรฐานสากล
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 ระดับความสำเร็จของการวางแผนปรับปรุงองค์กรสู่การจัดการผลกระทบทางลบต่อ
องค์กรและสังคม |
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : พ.ต.ท.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ |
ผู้จัดเก็บข้อมูล : ว่าที่ พ.ต.ต. สุริยะ โพธิ์ทองนาค |
เบอร์ติดต่อ : 0 3827 5027 |
เบอร์ติดต่อ : 0 3827 5027 |
หน่วยวัด :
น้ำหนัก :
คำอธิบาย : |
ข้อมูลผลการดำเนินงาน :
ระดับคะแนน |
การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 |
1 |
ตั้งคณะทำงานศึกษาวิเคราะห์แนวคิดการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรและสรุปแนวทางในการให้บริการและความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งที่เป็นผลการดำเนินการที่เป็นทางบวก (เฉพาะ Process) และการดำเนินการที่เป็นทางลบ หรือเกิดผลกระทบทางลบ
1.1 ตั้งคณะทำงานศึกษาและวิเคราะห์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม 1.2 จัดอบรมการจัดการผลกระทบทางลบต่อสังคม (CSR) และการฝึกอบรมการจัดทำแผนปรับปรุงองค์กร (หรือแผนพัฒนาองค์กร)
1.3 คณะทำงานตามข้อ 1.1 สรุปแนวทางการให้บริการทางหน่วยงานทั้งที่เป็นผลกระทบทางบวก (เฉพาะกระบวนงาน หรือ Process) และการดำเนินการที่เป็นทางลบหรือผลกระทบทางลบ (เฉพาะที่เป็นกระบวนงาน หรือ Process)
1.4 การดำเนินการทั้ง 1.1 – 1.3 รายงานให้ ศสส.ภ.2 ทราบ |
2 |
ผู้บริหารและคณะทำงานนำผลการวิเคราะห์ที่เป็นผลกระทบทางลบมากำหนดแนวทางใน 2 แนวทาง
2.1 การวางแผนปรับปรุงองค์กรในส่วนที่เป็นโอกาสปรับปรุงของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มาดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
2.2 การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร โดยใช้เทคนิค CSR
ส่วนที่ 1 : จัดลำดับความสำคัญการวางแผนปรับปรุงองค์กรเพื่อจัดการผลกระทบทางลบ โดย
1) จัดลำดับความสำคัญของแผนปรับปรุงหรือพัฒนาองค์กร
2) เสนอแผนปรับปรุง
3) วางแผนและดำเนินการปรับปรุง/พัฒนา
ส่วนที่ 2 : จัดทำ CSR Strategy เพื่อสร้างการยอมรับ
2.1 การวางแผนปรับปรุงหรือพัฒนาองค์กร
2.2 หน่วยงานระดับ กก. หรือเทียบเท่า เป็นพื้นที่ปฏิบัติการปรับปรุงตามแผน โดยแบ่ง/แยกแนวทางการปรับปรุง หรือเฉลี่ยแนวทางการปรับปรุงให้แก่หน่วยงานระดับ กก. หรือเทียบเท่า ไปวางแผนและดำเนินการปรับปรุง/พัฒนา
2.3 จัดทำ CSR Strategy เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมหรือสร้างการยอมรับแล้วเสนอแผนงาน CSR ต่อ ตร. (ผ่าน ศปก.ตร.) ทราบ |
3 |
หน่วยงานระดับปฏิบัติ (กก.หรือเทียบเท่า) ที่เกิดผลกระทบทางลบได้ดำเนินการปรับปรุงระดับ Process และออกแบบกระบวนงาน เพื่อให้เกิดผลผลิตที่แก้ไขผลกระทบ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบผ่านช่องทางต่างๆ ส่วนที่แผนงาน CSR โดยระบบ PDCA กำหนดแผนติดตาม
3.1 บช./บก. เป็นพี่เลี้ยง/สนับสนุนการดำเนินการปรับปรุงตามแผนปรับปรุงหรือแผนพัฒนาองค์กร และแผนงาน CSR ต่อหน่วยงานระดับ กก. หรือเทียบเท่า
- โดยในการวางแผนปรับปรุงหรือพัฒนา (สอดคล้องกับหมวด 3 และหมวด 6) กำหนดให้มีการปรับปรุงระดับกระบวนงาน หรือ Process |
|
เกณฑ์การให้คะแนน :
ระดับ 1 |
ระดับ 2 |
ระดับ 3 |
ระดับ 4 |
ระดับ 5 |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
|
การคำนวณคะแนนจากผลการดำเนินงาน :
ตัวชี้วัด/
ข้อมูลพื้นฐานประกอบตัวชี้วัด |
น้ำหนัก
(ร้อยละ) |
ผลการดำเนินงาน |
ค่าคะแนน
ที่ได้ |
ค่าคะแนน ถ่วงน้ำหนัก |
ระดับความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงของชาติ |
- |
3 |
3 |
|
|
คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ :
1.ศสส.ภ.2 ได้ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 3.1.22.2 นี้ โดยให้ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลตามพันธกิจ ผลกระทบทางบวก ทางลบ ผู้รับบริการหลัก ผลผลิต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยให้ปฏิบัติตามกรอบของคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ให้มา
2.จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
3.รายงานผลการปฏิบัติให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด |
ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน :
1.ผู้บังคับบัญชามีความสนใจและใส่ใจโดยมีการประชุมเร่งรัดอยู่เสมอ
2.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและช่วยกันปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี |
อุปสรรคต่อการดำเนินงาน :
1. กก.ปพ.ศสส.ภ.2 เป็นหน่วยที่ไม่สัมผัสกับประชาชนโดยตรง ทำให้การประชาสัมพันธ์หน่วยเป็นไปด้วยความยากลำบาก
2. หน้างานของ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 มีภารกิจเฉพาะและต้องการกำลังพลมาก รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทักษะ ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะ แต่ยังขาดงบประมาณในการจัดการฝึกอบรม กำลังพลไม่เพียงพอ |
หลักฐานอ้างอิง :
1.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
2.บันทึกรายงานการประชุมการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2552 ตัวชี้วัดที่ 3.1.22
3.ผลการศึกษาและวิเคราะห์การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
4.เอกสารการฝึกอบรมการจัดการผลกระทบทางลบต่อสังคม (CSR) และ การจัดทำแผนพัฒนาองค์กร
5.แนวทางการให้บริการทางหน่วยงานทั้งที่เป็นผลกระทบทางบวกและผลกระทบทางลบ (เฉพาะกระบวนงานหรือ Process)
6.แนวทางการปฏิบัติต่อผลกระทบทางลบ 2 แนวทาง
7.แนวทางการพัฒนาหน่วย |
TOP กลับไปสารบัญ
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.3 : ระดับความสำเร็จของการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล
เกี่ยวกับ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Output หลักและกระบวนงาน (ผลผลิตและบริการหลักตามพันธกิจหน่วยงาน)
เพื่อนำผลสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียมาศึกษาวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการวางแนวทางแก้ไข
ของ
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
และการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไข
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.3 : ระดับความสำเร็จของการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร
คณะทำงาน
1. ว่าที่ พ.ต.ต.สุริยะ โพธิ์ทองนาค สว.กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน / ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด
2. ด.ต.บุญเยี่ยม ศรีวิเศษ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
3. ด.ต.เกียรติ มูลมาตย์ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
1. แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
2. แบบสำรวจภาพลักษณ์ ที่มีต่อ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
3. กรอบภารกิจหน้าที่ตามพันธกิจ และ ผลผลิตของหน่วย
ผลการศึกษาวิเคราะห์
ส่วนที่ 1 Output หลัก หรือผลผลิตหลักของหน่วย
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้สัมผัสกับประชาชนโดยตรง โดยตามภารกิจอำนาจและหน้าที่ที่ ตร. ได้กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 สรุปภารกิจได้ดังนี้
- งานอำนวยการและธุรการ
- งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
- งานเจรจาต่อรอง
- งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ
- งานควบคุมฝูงชน
- งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ
- งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่
จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ จะเป็นไปในลักษณะกรณีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤต หรือเป็นเหตุเฉพาะที่ใช้หน่วยพิเศษในการเข้าคลี่คลายและแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าหน่วยงานจะไม่ได้สัมผัสกับประชาชนโดยตรง เช่น โรงพัก แต่เมื่อได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่แล้วจะต้องมีการปฏิบัติต่อประชาชนทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือความรู้สึกต่อประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งตามข้อมูลผลการศึกษาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการปฏิบัติหน้าที่ตามหน้างานทั้ง 7 หน้างานดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
1. |
งานอำนวยการและธุรการ |
- ดำเนินการทางด้านงานธุรการ การประสานงานกับหน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียง หน่วยงานนอกสังกัด ตร. ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบของ กก.ปพ.ฯ ที่จำเป็นแก่ประชาชน หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เช่น ภัยการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ บุคคลมีหมายจับการก่อความไม่สงบ การสังเกตและการปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัยเป็นระเบิด การป้องกันตัวสำหรับสตรีและเยาวชน ฯ
- รับแจ้งเบาะแสจากประชาชนเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ เช่น ข้อมูลบุคคลต้องสงสัยของอาชญากรข้ามชาติ บุคคลก่อความไม่สงบ คนร้ายมีอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิด ผู้มีอิทธิพล ฯ แล้วจัดทำเป็นเอกสารรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
ดำเนินการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ได้รับการแจ้งเบาะแสหรือการร้องเรียนจากประชาชน การรายงานผลการปฏิบัติ และการเก็บรวบรวมข้อมูลของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
2. |
งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ |
- จัดเจ้าหน้าที่ชุดรถอาวุธและอุปกรณ์พิเศษเพื่อเตรียมพร้อมในการถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 2 หรือตามที่ ตร.มอบหมาย ทั้งที่มีหมายกำหนดการหรือเป็นการส่วนพระองค์
- ร่วมตรวจพื้นที่รับเสด็จและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในขบวนเสด็จรวมทั้งตำรวจพื้นที่ หน่วยราชการอื่น ๆ ที่ร่วมปฏิบัติ
-หน่วยงานในสังกัด ตร.และ ภ.2
-กรมสมุหราชองครักษ์ หรือฝ่ายทหาร
-สำนักพระราชวัง -หน่วยงานอื่นๆที่ร่วมปฏิบัติในการ ถปภ. |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
3. |
งานเจรจาต่อรอง |
จัดเจ้าหน้าที่ชุดเจรจาต่อรองรองรับ กรณี คนร้ายจับตัวประกัน คนคิดฆ่าตัวตาย กลุ่มชุมนุมประท้วง เพื่อสนับสนับตำรวจพื้นที่ในการปฏิบัติและเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
4. |
งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ |
- จัดเจ้าหน้าที่ชุด SWAT ที่ได้รับการฝึกจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 จาก บก.สอ.บช.ตชด.
มีหน้าที่ สนับสนุนตำรวจท้องที่ทางด้านยุทธวิธีในการช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ การจู่โจมล้อมจับคนร้ายคดีสำคัญ การวางแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติการในพื้นที่เกิดเหตุวิกฤติ การประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางยุทธวิธี |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
5. |
งานควบคุมฝูงชน |
- จัดเจ้าหน้าที่กองร้อยควบคุมฝูงชน และชุดอาวุธพิเศษ ตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ48)
- เพื่อสนับสนุนตำรวจท้องที่ กองร้อย ปจ.ในสังกัด ภ.2 เมื่อได้รับการร้องขอ
- ประชาสัมพันธ์หรือปฏิบัติการทางจิตวิทยาให้ประชาชนทราบถึงสิทธิการชุมนุมประท้วงตามกรอบของกฎหมายและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าหน้าที่เมื่อมีการละเมิดกฎหมาย
ให้เจ้าหน้าที่และประชาชนทราบถึงระดับการใช้กำลัง |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
6. |
งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ |
- จัดครูฝึกทางด้านยุทธวิธีตำรวจ โดยจัดหลักสูตรและเตรียมแผนการฝึกตามระดับความสำคัญของยุทธวิธีให้ตามความเหมาะสม
- ฝึกอบรมทบทวนภายใน
- ฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานภาครัฐนอกสังกัด ตร.
ฝึกอบรมให้แก่เอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป |
ลำดับ |
ผลผลิต |
บริการหลัก |
7. |
งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่ |
- จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ เช่น ผู้นำประเทศ พยานคดีสำคัญ ผู้ต้องหาคดีสำคัญ ฯ
- จัดเจ้าหน้าที่สิบเวรยามรักษาความปลอดภัย กก.ปพ.ฯ , บ้านพักข้าราชการของผู้บังคับบัญชา
รักษาความปลอดภัยสถานที่จัดงานมหกรรม เมื่อได้รับการร้องขอ |
ส่วนที่ 2 ผลการสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และผลการสำรวจภาพลักษณ์ของหน่วย
1. จากแบบสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ
จากการสุ่มแบบสำรวจ กับ ผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คน คะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดคะแนนตามสัดส่วน เกณฑ์การคิดใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ สรุปผลได้ดังนี้
การคำนวณ ใช้การคำนวณ 20 คะแนน = 12 คะแนน ถ้าได้คะแนนจากแบบสำรวจเท่าใด ให้นำผลคะแนนที่ได้ คูณด้วยคะแนนเต็มหลักจากการคำนวณ แล้วหารด้วยคะแนนเต็มของแบบสำรวจในหัวข้อนั้นๆ
1.1 ด้านตัวเจ้าหน้าที่ 20%
- คะแนนเต็ม 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 20 คะแนน
- สรุปคะแนน ได้ 12 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์ประทับใจ
1.2 ด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่ 30%
- คะแนนเต็ม 18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 10 คะแนน
- เงื่อนไข ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่และภารกิจของหน่วย
- สรุปคะแนน ได้ 18 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์ประทับใจ
1.3 ขั้นตอนการให้บริการ 30%
- คะแนนเต็ม 18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 15 คะแนน
- เงื่อนไข การให้บริการเกี่ยวกับงานในหน้าที่และภารกิจของหน่วย
- สรุปคะแนน ได้ 10.8 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์เฉย ๆ
1.4 บรรยากาศ สถานที่ และอุปกรณ์ (20%)
- คะแนนเต็ม 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 15 คะแนน
- สรุปคะแนน ได้ 7.2 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์เฉยๆ
สรุป ภาพรวมคะแนนผลการการสำรวจจากคะแนนเต็ม 60 คะแนน ได้ 48 คะแนน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้ 80%
และวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. ด้านตัวเจ้าหน้าที่มีการแต่งกายที่เหมาะสมโดยเครื่องแบบของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ มีเครื่องแบบชุดฝึกกากีแกมเขียว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แสดงออกได้ถึงการเป็นหน่วยกำลัง และมีอุปกรณ์การปฏิบัติงานเช่นเข็มขัดสนาม การพกอาวุธปืน ไฟฉาย กุญแจมือ ฯ เรียบร้อยดูทะมัดทะแมง น่าเกรงขามและดูมีระเบียบวินัย มีการปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างดี (กรณีมีผู้มาติดต่อราชการ) และมีความกระตือรือร้นเอาใจใส่ต่อผู้มารับบริการ
2. ด้านความรู้เกี่ยวกับภารกิจตามพันธกิจของหน่วย สามารถอธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจได้ดี และสามารถประชาสัมพันธ์ภารกิจของหน่วยได้ดีเมื่อมีข้อสงสัยและสอบถาม โดยที่กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ มีภารกิจเฉพาะและเป็นกรณีพิเศษที่ไม่ได้สัมผัสต่อประชาชนโดยตรง โดยประชาชนส่วนใหญ่สงสัยและสอบถามถึงหน่วยและภารกิจเป็นประจำเมื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่และได้พบปะกับประชาชน
3. ขั้นตอนการให้บริการต่อผู้รับบริการ ฯ ยังไม่ดีนักเนื่องจากภารกิจของหน่วยไม่ได้สัมผัสต่อประชาชนโดยตรง และการปฏิบัติงานจะเป็นไปในลักษณะของการปฏิบัติการพิเศษ ฯ ที่จะออกไปสนับสนุนการปฏิบัติในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤตเป็นกรณีไป เช่น การช่วยเหลือตัวประกัน การปิดล้อมๆจับคนร้ายคดีสำคัญ คนร้ายมีอาวุธปืนสงคราม เป็นต้น
4. บรรยากาศ สถานที่ และอุปกรณ์ ยังไม่ดีนัก เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานที่เพิ่มเติมยังขาดงบประมาณ ซึ่งต้องจัดทำโครงการของบประมาณในการจัดสร้างในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. จากแบบสำรวจภาพลักษณ์
จากการสุ่มแบบสำรวจ กับ ผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คน เกณฑ์การคิดใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ สรุปผลได้ดังนี้
2.1 เจ้าหน้าที่มีอัธยาศัยไมตรีและความสุภาพ (Council Staff)
ได้ระดับความพึงพอใจ มาก คิดเป็น 80%
2.2 สามารถให้บริการได้อย่างสำเร็จลุล่วง (Performance of Council)
ได้ระดับความพึงพอใจ มาก คิดเป็น 80%
2.3 มีความน่าเชื่อถือ (Reliability)
ได้ระดับความพึงพอใจ มาก คิดเป็น 80%
2.4 เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วน (ประชาชน สื่อสารมวลชน รัฐ สถาบันศึกษา)
ได้ระดับความพึงพอใจ น้อย คิดเป็น 80%
2.5 เป็นที่ชื่นชมและได้รับแนะนำแก่คนรอบข้าง
ได้ระดับความพึงพอใจ น้อย คิดเป็น 80%
สรุปผลการวิเคราะห์จากแบบสำรวจภาพลักษณ์
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ มีเจ้าหน้าที่ที่มีอัธยาศัยไมตรีมีความสุภาพ มีความสนใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการ และมีความน่าเชื่อถือต่อผู้รับบริการที่ได้เข้ามาสัมผัสและการติดต่อประสานงาน แต่สาเหตุที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วน อันได้แก่ ประชาชน สื่อสารมวลชน รัฐ สถาบันการศึกษา และเป็นที่ชื่นชมและได้รับแนะนำแก่คนรอบข้าง เนื่องจาก ขาดการประชาสัมพันธ์หน่วยและการจัดทำโครงการเพื่อดึงให้ผู้รับบริการหลักได้เข้ามาใช้บริการในหน่วย เช่น การฝึกการยิงปืนขั้นพื้นฐาน การฝึกศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว ฯ และการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของหน่วยยังไม่ได้จัดทำให้เป็นระบบ และกระจายช่องทางการประชาสัมพันธ์หน่วยให้แพร่กระจายออกไป รวมทั้งภารกิจในกรอบอำนาจและหน้าที่ ฯ ของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ นั้น ไม่ได้มีลักษณะงานที่ต้องสัมผัสกับประชาชนโดยตรง
********************************************************
สรุปผลการวิเคราะห์
วางแผนการปฏิบัติและแนวทางแก้ไข
มีดังนี้
- งานอำนวยการและธุรการ
- จัดระบบงานธุรการให้เป็นระบบ รวดเร็ว มีระบบสืบหาข้อมูล
- อบรมพัฒนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
- ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน ภารกิจ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ โดยพิจารณาตาม พ.ร.บ.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ฯ และข่าวที่ไม่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาชนส่วนใหญ่ หรือข่าวที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด
- เปิดช่องทางรับข้อมูลการแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางอีเมลล์ ทางจดหมาย หรือทางโทรศัพท์ ฯ
- รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ตรวจสอบ รายงานผล(ทั้ง ผู้บังคับบัญชา และประชาชนทราบ) และจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
- งานถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
- การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ถวายความปลอดภัย
- ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์
- ประชาชนที่ใช้รถหลงเข้ามาในเส้นทางเสด็จหรือกำลังจะออกมาเทียบขบวนเสด็จ
- ใช้ยุทธวิธีการสกัดกั้น โดยคำนึงถึง
- ความปลอดภัยของรถพระที่นั่งและรถในขบวนเสด็จ
- ความปลอดภัยประชาชนที่หลงเข้ามาในเส้นทางเสด็จ
- การใช้สัญญาณแจ้งเตือน สัญญาณเสียง ไมโครโฟน และท่าทางโดยความละมุนละม่อม แต่การปฏิบัติเป็นไปโดยปลอดภัย
- ระหว่างการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ ที่หมาย
- การประชาสัมพันธ์การนั่ง การห้ามถ่ายรูป การแต่งกาย การอยู่ในที่จัดไว้สำหรับการรับเสด็จ การเดินตัดขบวน ฯ
- ใช้วาจาที่สุภาพ และ เป็นที่เข้าใจของประชาชนเพราะประชาชนทุกคนต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ก่อนแล้ว
- งานเจรจาต่อรอง
- การใช้หลักการเจรจาตามขั้นตอน
- การใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อประชาชนทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ออกจากที่เกิดเหตุ ในพื้นที่ที่จำกัดไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
- การปฏิบัติต่อคนร้าย ตัวประกัน กลุ่มชุมนุมประท้วง หรือแกนนำ เป็นไปด้วยความละมุนละม่อม และมีความความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุหรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ของคนร้าย
- การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ต่างหน่วย หรือองค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ ต่าง ๆ เป็นไปด้วยดี สร้างบรรยากาศการร่วมงานที่ดี
- การปฏิบัติทั้งขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ใช้หลักจิตวิทยา และการทำงานที่เป็นขั้นตอนตามหลักการเจรจาต่อรอง
- งานช่วยเหลือตัวประกัน การก่อวินาศกรรม ก่อการร้าย คดีสำคัญ
- ระหว่างการเข้าพื้นที่เกิดเหตุ
- การใช้เส้นทางโดยความเร่งด่วน มีการใช้สัญญาณไฟวับวาบ สัญญาณเสียงเตือน และไมโครโฟน แจ้งขอทาง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย คำพูด และวิธีการปฏิบัติที่ละมุนละม่อม
- ระหว่างการเข้าปฏิบัติการ เมื่อพบประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ให้ออกจากที่เกิดเหตุ
- การวางแผนและการเข้าปฏิบัติการนอกจากคำนึงถึงถึงความปลอดภัยของตัวประกันแล้วให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนใกล้ที่เกิดเหตุ เช่น วิถีกระสุน ขนาดกระสุนที่ใช้ยิง อาวุธที่ใช้
- การปฏิบัติต่อตัวประกัน คนร้าย เป็นไปตามยุทธวิธี
- การฟื้นฟูที่เกิดเหตุเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ
- งานควบคุมฝูงชน
- การวางแผนการปฏิบัติในการควบคุมฝูงชนที่ดี
- จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามแผนรักษาความสงบ (กรกฎ 48) โดยแบ่งแยกหน้าที่ให้ชัดเจน ผบ.เหตุการณ์คือใคร เจ้าหน้าที่ชุดเจรจารับฟังข้อเรียกร้องจากตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม
- การประชาสัมพันธ์โดยการประกาศเกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบและที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย
- การประกาศแจ้งเกี่ยวกับขั้นระดับการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนเพื่อให้ทุกฝ่ายทราบและเป็นที่เข้าใจ
- การปฏิบัติการทางจิตวิทยา ไม่กดดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่เกิดความเครียดและสร้างบรรยากาศการชุมประท้วงให้เป็นไปโดยสงบ
- การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การจัดการจราจร การประสานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
- การปฏิบัติขณะมีการชุมนุม และภายหลังมีการชุมนุม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- ทั้งในยามปกติ และ การใช้กำลังในการสลายการชุมนุม
- การฝึกซ้อมกองร้อยควบคุมฝูงชนและประชาสัมพันธ์ให้ตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้รับรู้ถึงการปฏิบัติของกองร้อยควบคุมฝูงชนที่ปฏิบัติตามระดับการใช้กำลังที่เป็นไปตามกฎหมาย
- การฝึกใช้อาวุธ โล่ กระบอง การยิงกระสุนแก๊สน้ำตา ที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
- งานการฝึกยุทธวิธีตำรวจพิเศษ
- วัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่หน่วย
- จัดทำโครงการหรือแผนการฝึกให้การภาคเอกชนและประชาชน เกี่ยวกับการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น ธนาคาร ร้านค้าทอง ปั๊มน้ำมัน ฯ ประชาชนทั่วไป
- การยิงปืนขั้นพื้นฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน
- ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี และเยาวชน
- การรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ บ้านพัก
- จัดทำโครงการของบประมาณสร้างสนามยิงปืนทางยุทธวิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนทั่วไป
- จัดสถานที่สำหรับการฝึกและประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ภายในหน่วย
- งานรักษาความปลอดภัยบุคคล สถานที่
- เป็นการปฏิบัติกฎหมายคุ้มครองพยาน
- การรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญระดับประเทศ ระดับชาติ เพื่อความเชื่อมั่นแก่หน่วยงาน และประเทศ
- การรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายแก่หน่วยงานและที่ประชาชนต้องมาติดต่อใช้บริการ
- เป็นการคุ้มครองพยานสำคัญ ผู้ต้องหาสำคัญ ให้สามารถดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมจนจบ
- ในงานมหกรรมใหญ่ ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทะเลาะวิวาท การทำร้ายชีวิตร่างกาย การประทุษร้ายต่อทรัพย์ ให้อยู่ในการควบคุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- การปฏิบัติต่าง ๆ เป็นไปด้วยความละมุนละม่อม และสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน
ว่าที่ พ.ต.ต. ผู้รับผิดชอบ / เลขาธิการ
( สุริยะ โพธิ์ทองนาค )
สรุปผลการสำรวจจาก
แบบสอบถามความพึงพอใจ – ไม่พึงพอใจ
ที่มีต่อ
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
เสนอ พ.ต.อ.นิพนธ์ พานิชเจริญ ผกก.กก.ปพ.ศสส.ภ.2
ตัวชี้วัดที่ 3.1.22.3 : ระดับความสำเร็จของการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร
คณะทำงาน
1. ว่าที่ พ.ต.ต.สุริยะ โพธิ์ทองนาค สว.กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน / ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด
2. ด.ต.บุญเยี่ยม ศรีวิเศษ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
3. ด.ต.เกียรติ มูลมาตย์ ผบ.หมู่ กก.ปพ.ศสส.ภ.2 คณะทำงาน
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
1. แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
2. แบบสำรวจภาพลักษณ์ ที่มีต่อ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2
3. กรอบภารกิจหน้าที่ตามพันธกิจ และ ผลผลิตของหน่วย
ผลการสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และผลการสำรวจภาพลักษณ์ของหน่วย
1. จากแบบสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ
จากการสุ่มแบบสำรวจ กับ ผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คน คะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดคะแนนตามสัดส่วน เกณฑ์การคิดใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ สรุปผลได้ดังนี้
การคำนวณ ใช้การคำนวณ 20 คะแนน = 12 คะแนน ถ้าได้คะแนนจากแบบสำรวจเท่าใด ให้นำผลคะแนนที่ได้ คูณด้วยคะแนนเต็มหลักจากการคำนวณ แล้วหารด้วยคะแนนเต็มของแบบสำรวจในหัวข้อนั้นๆ
1.1 ด้านตัวเจ้าหน้าที่ 20%
- คะแนนเต็ม 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 20 คะแนน
- สรุปคะแนน ได้ 12 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์ประทับใจ
1.2 ด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่ 30%
- คะแนนเต็ม 18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 10 คะแนน
- เงื่อนไข ความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่และภารกิจของหน่วย
- สรุปคะแนน ได้ 18 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์ประทับใจ
1.3 ขั้นตอนการให้บริการ 30%
- คะแนนเต็ม 18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 15 คะแนน
- เงื่อนไข การให้บริการเกี่ยวกับงานในหน้าที่และภารกิจของหน่วย
- สรุปคะแนน ได้ 10.8 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์เฉย ๆ
1.4 บรรยากาศ สถานที่ และอุปกรณ์ (20%)
- คะแนนเต็ม 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน
- คะแนนที่ใช้ประเมินเต็ม 15 คะแนน
- สรุปคะแนน ได้ 7.2 คะแนน
- อยู่ในเกณฑ์เฉยๆ
สรุป ภาพรวมคะแนนผลการการสำรวจจากคะแนนเต็ม 60 คะแนน ได้ 48 คะแนน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ได้ 80%
และวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. ด้านตัวเจ้าหน้าที่มีการแต่งกายที่เหมาะสมโดยเครื่องแบบของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ มีเครื่องแบบชุดฝึกกากีแกมเขียว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์แสดงออกได้ถึงการเป็นหน่วยกำลัง มีการปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างดี (กรณีมีผู้มาติดต่อราชการ) และมีความกระตือรือร้นเอาใจใส่
2. ด้านความรู้เกี่ยวกับภารกิจตามพันธกิจของหน่วย สามารถอธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจได้ดี และสามารถประชาสัมพันธ์ภารกิจของหน่วยได้ดีเมื่อมีข้อสงสัยและสอบถาม โดยที่กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ มีภารกิจเฉพาะและเป็นกรณีพิเศษที่ไม่ได้สัมผัสต่อประชาชนโดยตรง โดยประชาชนส่วนใหญ่สงสัยและสอบถามถึงหน่วยและภารกิจเป็นประจำเมื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่และได้พบปะกับประชาชน
3. ขั้นตอนการให้บริการต่อผู้รับบริการ ฯ ยังไม่ดีนักเนื่องจากภารกิจของหน่วยไม่ได้สัมผัสต่อประชาชนโดยตรง และการปฏิบัติงานจะเป็นไปในลักษณะของการปฏิบัติการพิเศษ ฯ ที่จะออกไปสนับสนุนการปฏิบัติในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤตเป็นกรณีไป เช่น การช่วยเหลือตัวประกัน การปิดล้อมๆจับคนร้ายคดีสำคัญ คนร้ายมีอาวุธปืนสงคราม เป็นต้น
4. บรรยากาศ สถานที่ และอุปกรณ์ ยังไม่ดีนัก เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาอาคารสถานที่เพิ่มเติมยังขาดงบประมาณ ซึ่งต้องจัดทำโครงการของบประมาณในการจัดสร้างในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. จากแบบสำรวจภาพลักษณ์
จากการสุ่มแบบสำรวจ กับ ผู้รับบริการหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 100 คน เกณฑ์การคิดใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ สรุปผลได้ดังนี้
2.1 เจ้าหน้าที่มีอัธยาศัยไมตรีและความสุภาพ (Council Staff)
ได้ระดับความพึงพอใจ มาก คิดเป็น 80%
2.2 สามารถให้บริการได้อย่างสำเร็จลุล่วง (Performance of Council)
ได้ระดับความพึงพอใจ มาก คิดเป็น 80%
2.3 มีความน่าเชื่อถือ (Reliability)
ได้ระดับความพึงพอใจ มาก คิดเป็น 80%
2.4 เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วน (ประชาชน สื่อสารมวลชน รัฐ สถาบันศึกษา)
ได้ระดับความพึงพอใจ น้อย คิดเป็น 80%
2.5 เป็นที่ชื่นชมและได้รับแนะนำแก่คนรอบข้าง
ได้ระดับความพึงพอใจ น้อย คิดเป็น 80%
สรุปผลการวิเคราะห์จากแบบสำรวจภาพลักษณ์
กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ฯ มีเจ้าหน้าที่ที่มีอัธยาศัยและความสุภาพ มีความสนใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการ และมีความน่าเชื่อถือต่อผู้รับบริการที่ได้เข้ามาสัมผัสและการติดต่อประสานงาน แต่สาเหตุที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วน ได้แก่ ประชาชน สื่อสารมวลชน รัฐ สถาบันการศึกษา และเป็นที่ชื่นชมและได้รับแนะนำแก่คนรอบข้าง เนื่องจาก ขาดการประชาสัมพันธ์หน่วยและการจัดทำโครงการเพื่อให้ผู้รับบริการหลักได้เข้ามาใช้บริการในหน่วย เช่น การฝึกการยิงปืนขั้นพื้นฐาน การฝึกศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว ฯ และการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของหน่วยยังไม่ได้จัดทำให้เป็นระบบ และกระจายช่องทางการประชาสัมพันธ์หน่วยให้แพร่กระจายออกไป
ว่าที่ พ.ต.ต. ผู้รับผิดชอบ / เลขาธิการ
( สุริยะ โพธิ์ทองนาค )
TOP กลับไปสารบัญ
เอกสารการฝึกอบรมการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ (CRM)
และการให้บริการที่เป็นเลิศ
วัตถุประสงค์
เพื่อทราบแนวทางและเทคนิคในการสร้างความสัมพันธ์ หรือ ความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
CRMคืออะไร
Customer Relationship Management(CRM)
สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การทำความเข้าใจว่า CRM คือ กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งใหม่ ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เพิ่งจะได้รับการกล่าวถึงและนำมาใช้ในยุคนี้ เกือบทุกองค์กรจะนำ CRM เข้ามาใช้โดยอาจอยู่ภายในหนึ่งแผนกหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นการเก็บประวัติการณ์ให้บริการลูกค้าของแผนกดูแลลูกค้าโดยการบันทึกความคิดเห็นของลูกค้าหรือข้อมูลที่ลูกค้าต้องการเพิ่มเติม
สิ่งที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไม่นานมานี้ คือ ผลกระทบ ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อกระบวนการบริหารลูกค้าที่เห็นได้ชัดเจนคือการใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมฐานข้อมูล ลูกค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (การจัดเก็บในคอมพิวเตอร์) หรือการนำศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ (Call Center) เข้ามาสนับสนุนการทำงาน ระบบที่มีความทันสมัยส่วนใหญ่ จะมีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าได้จำนวนมาก และจะเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อความสะดวกในการใช้งานขององค์กร ข้อมูลที่เก็บไว้สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น เมื่อลูกค้าติดต่อกับองค์กรในครั้งล่าสุดเมื่อใด , เป็นการติดต่อในเรื่องอะไร , มีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบดูแลลูกค้ารายนั้น
คุณสมบัติ ที่ดีที่สุดของ CRM คือ ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และสามารถในการ ประเมินความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าได้ เพื่อให้การ ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น การทำงานของ CRM ยังรวมถึงลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นอีกจุดหนึ่ง นั่นคือการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์ เช่น ระบบ CRM สามารถแจ้งให้เจ้าของรถยนต์ทราบล่วงหน้าว่า รถของพวกเขาถึงเวลาอันสมควร ที่จะได้รับการตรวจเช็คจากศูนย์บริการ โดยระบบจะทราบถึงรายละเอียดของข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ ในการติดต่อ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ จดหมายแจ้งลูกค้า จะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่เก็บบันทึกไว้ใ |